Saturday, December 15, 2018

อารยธรรมเนปาล

เนปาลเป็นประเทศหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ในแง่ความหลากหลายทางด้านชีววิทยา อันเนื่องมาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะเด่น คือ มีพื้นที่ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 60 เมตร ขึ้นไป จนถึงจุดสูงสุดของโลก คือ ยอดเขาเอเวอเรสต์  และยังมีสภาพภูมิอากาศที่ผันแปรแตกต่างกันไปทุกๆระยะ 150 กิโลเมตร ตั้งแต่ภูมิอากาศแบบเขตร้อนถึงแบบอาร์กติก สิ่งเหล่านี้ทำให้เนปาลมีระบบนิเวศที่น่าอัศจรรย์ ตั้งแต่เทือกเขาที่ยาวเป็นแนวซึ่งปกคลุมด้วยแมกไม้ ป่าเมืองร้อนที่อุดมไปด้วยสัตว์ป่ามากมาย แม่น้ำที่เชี่ยวกราก รวมถึงหุบเขาที่หนาวเย็น

นอกจากนี้เนปาลยังเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม เนื่องจากประเทศเนปาลเป็นแหล่งรวมผู้คนหลายเชื้อชาติและหลายชนเผ่าที่มีภาษาพูดและภาษาท้องถิ่นแตกต่างกันมากกว่า 70 ภาษา 

เมืองหลวงคือ กรุงกาฐมาณฑุ 

จำนวนประชากรประมาณ 27 ล้านคน (สถิติปี ค.ศ.2005)

ประชากร 

ประกอบด้วยชาติพันธุ์ที่สำคัญ ได้แก่ พวกมองโกลอยด์ ซึ่งมาจากทิเบต สิกขิม และบริเวณภูเขาในแคว้นอัสสัมและเบงกอล ส่วนอีกพวกหนึ่งสืบเชื้อสายมาจากอินโดอารยันซึ่งอพยพมาจากที่ราบลุ่มทางตอนเหนือของอินเดีย


กลุ่มประชากร 


ประเทศเนปาลมีประชากรที่ประกอบไปด้วยผู้คนต่างเชื้อชาติและต่างเผ่าพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างกัน มีวัฒนธรรม ภาษาพูด และภาษาท้องถิ่นที่หลากหลาย แบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. กลุ่มที่ได้รับการยกย่องและมีอำนาจมากที่สุดในสังคม ได้แก่ วรรณพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์
  2. กลุ่มที่สำคัญรองลงมาคือ ชาวเผ่าต่างๆที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในประเทศเนปาลได้แก่ เผ่าคุรุง และเผ่ามาคาร์อาศัยอยู่ท่างทิศตะวันตกและทางตอนใต้ของที่ราบแนวเทือกเขาอรรณาปุรณะ หิมาชูริ และคเณศหิมัล เผ่ารายเผ่าลิมบูและ เผ่าซูนูวาร์อาศัยตามเทือกเขา หุบเขาแนวที่ลาด และหมู่บ้านทางทิศตะวันออก เผ่าเชอร์ปาและเผ่ากุรข่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย บนความสูงระดับ 4,570 เมตร เผ่าเนวาร์ซึ่งเป็นเผ่าที่มีความสำคัญมาก อาศัยอยู่ในแถบเมือหลวงกาฐมาณฑุ นอกจากนี้ยังมีเผ่าตารุ เผ่ายาดาวา เผ่าซาตาร์เผ่าราชบันชิ  และเผ่าธิมัล ที่อาศัยตามที่ลุ่มในเขตเตไร ส่วนพวกพราหมณ์ เผ่าเฉตริเผ่าฐากูรีจะกระจายอยู่ทั่วไป


ทั้งนี้การแบ่งกลุ่มดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดบทบาทสำคัญที่ส่งผลต่อสังคมและการเมืองของประเทศ อันได้แก่ ความแตกต่างทางขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษา และวัฒนธรรม สิ่งที่เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดความแตกต่างเหล่านี้ ได้แก่ ปัจจัยทางด้านเผ่าพันธุ์ วรรณ และสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ 


ลักษณะทางภูมิศาสตร์ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงทางตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัย โดยมีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศเล็กๆที่ไม่มีทางออกทะเล เนื่องจากถูกล้อมรอบโดยประเทศอื่นๆ 

ทรัพยากรธรรมชาติ 

ด้านการเกษตร ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ยาสูบ ข้าวสาลี ถั่ว และมันฝรั่ง 

แร่ธาตุที่สำคัญของเนปาล ได้แก่ ไมก้า ลิกไนต์ ทองแดง โคบอลต์ แร่เหล็ก พลวง และตะกั่ว



ภาษา   
ชนเผ่าต่างเชื้อชาติใช้ภาษาของตนเป็นภาษาท้องถิ่น แต่ “เนปาลี” ซึ่งเป็นภาษาประจำวันประจำชาติที่มีการประดิษฐ์ขึ้นในแบบตัวอักษรเทวนาครี ถือเป็นภาษากลางที่ใช้ในเนปาล โดยมีรากฐานมาจากอินเดียทางภาคเหนือ นอกจากนี้ผู้ที่มีการศึกษาสามารถพูดและเข้าใจภาษาอังกฤษได้ดี

ธงชาติ 
ประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2505 มีลักษณะที่แตกต่างจากธงประจำชาติของประเทศต่างๆ เนื่องจากรูปร่างของธงจะมีลักษณะสามเหลี่ยม 2 ชิ้นประกบกัน ขอบธงชาติเดินด้วยสีน้ำเงิน พื้นเป็นสีแดง มีสัญลักษณ์สีขาวอยู่ตรงกลางของสามเหลี่ยม ชิ้นบนเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว อันหมายถึงพระมหากษัตริย์ และชิ้นล่างเป็นรูปพระอาทิตย์ อันหมายถึงอำนาจแห่งตระกูลรานะ
เวลา 
เวลาของเนปาลเร็วกว่ามาตรฐานกรีนิซ 5 ชั่วโมง 45 นาที ดังนั้นจึงช้ากว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง 15 นาท
ประวัติศาสตร์ 

            เนปาลเป็นประเทศที่มีความเป็นเอกราช มีระบอบการปกครองแบบกษัตริย์ ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณีสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน 
            ราชอาณาจักรเนปาลมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 2,000 ปี โดยเริ่มจากชนเผ่าในเขตหุบเขากาฐมาณฑุ ต่อมาในราวคริสต์ศตวรรษที่ 4 ตระกูลลิจฉวี  ได้ปกครองดินแดนแถบนี้ โดยได้รับอิทธิพลฮินดูและพุทธจากอินเดีย ประวัติศาสตร์เนปาลปรากฏเด่นชัดขึ้นเมื่อราชวงศ์มัลละ ได้ปกครองพื้นที่ทางตะวันตกของเนปาล และหุบเขากาฐมาณฑุ  ทั้งหมดในพุทธศตวรรษที่ 18-21 ต่อมาราชอาณาจักรของราชวงศ์มัลละถูกแบ่งออกเป็น 3 อาณาจักร คือ กาฐมาณฑุ ภักตะปุร์ ละลิตปุร์ และกีรติปุร์
            กษัตริย์แห่งราชวงศ์มัลละผู้ปกครองกรุงกาฐมาณฑุได้ให้การสนับสนุนในด้านศิลปะและวัฒนธรรมอย่างเต็มที่ ต่อมามีการรณรงค์ในเรื่องของการรวมชาติโดยกษัติย์ปฤถวี นารายัณชาห์ มหาราช ในปีพ.ศ. 2311 ราชวงศ์ชาห์ในปัจจุบัน กษัตริย์ปฤถวีนารายัณ ชาห์ มหาราชได้สถาปนาราชอาณาจักร โดยรวบรวมอาณาจักรทั้งหมดของเนปาลเป็นอาณาจักรเดียว ต่อมาเนปาลได้รับชัยชนะในการทำสงครามกับผู้รุกราน อาทิอังกฤษทางด้านอินเดีย และจีนทางด้านทิเบต ในช่วงนี้เนปาลปกครองโดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารประเทศในบรรดาศักดิ์ “รานะ” ที่สืบทอดกันมาในตระกูล ประมาณ 100 ปี ช่วงดังกล่าวกษัตริย์เป็นประมุขแต่เพียงในนามเท่านั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2493 อำนาจในการบริหารประเทศจึงกลับคืนมาสู่กษัตริย์อีกครั้ง ซึ่งในขณะนั้นคือสมเด็จพระราชาธิบดีตริภูวัน และในขณะเดียวกัน พรรค Nepali Congress ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกในเนปาล
            กษัตริย์แห่งราชวงศ์ชาห์ได้ขึ้นครองราชย์ปกครองประเทศต่อจากราชวงศ์มัลละ 
            การปฏิวัติในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2493 เป็นการสิ้นสุดช่วงการปกครองโดยบรรณาศักดิ์รานะที่ปกครองประเทศเป็นระยะเวลา 104 ปี (พ.ศ. 2389-2493) หลังจากการล่มสลายของการปกครองโดยตระกูลของรานะในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 เนปาลเริ่มให้ความสนใจกบระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย จากนั้นได้มีการนำการปกครองแบบรัฐสภาที่มีรัฐบาลผสมมาใช้ ในปี พ.ศ. 2502 สมเด็จพระราชาธิบดีมเหนทรา  ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญ และได้จัดให้มีการเลือกตั้ง โดยมีนาย B.P. Koirala หัวหน้าพรรค NC ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
            ในปี พ.ศ.2505 ได้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กำหนดการปกครองให้เป็นแบบระบบปัญจยัต  หรือระบบรัฐสภาแบบสภาเดียวและไม่มีพรรคการเมือง
            ช่วงต้นปี พ.ศ. 2533 มีการชุมนุมประท้วงและก่อการจลาจลเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยแบบมีพรรคการเมืองหลายพรรค โดยมีการแทรกแซงจากต่างชาติโดยเฉพาะอินเดีย เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2533 สมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทรา บีร์ บิกรัม ชาห์ เทพ  ทรงประกาศยกเลิกข้อห้ามที่มิให้มีพรรคการเมืองและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ  มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร            กษัตริย์องค์ปัจจุบันของเนปาล คือ สมเด็จพระราชาธิบดี คยาเนนทรา พีร์ พิกรม ชาห์ เทพ  เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ชาห์พระองค์ที่ 13 ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ภายหลังโศกนาฏกรรมจากเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์หมู่สมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทราและพระราชวงศ์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544
            ปัจจุบันประเทศเนปาลยังประสบปัญหาเรื่องความสงบภายในประเทศจากกลุ่ม Maoist ซึ่งเป็นกลุ่มที่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ตามแนวทางเหมาเจ๋อตุง ที่ทำการเรียกร้องให้ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ โดยวิธีการใช้กำลังต่อต้านรัฐบาลและดำเนินสงครามประชาชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 สถานการณ์ทางการเมืองมีความไม่มั่นคง เนื่องจากมีการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ต่อต้านซึ่งนิยมลัทธิเหมาและกองกำลังทหารตำรวจเนปาลมาโดยตลอด การเจรจาสันติระหว่างฝ่ายผู้นำกลุ่มผู้ต่อต้านซึ่งนิยมลัทธิเหมาและตัวแทนรัฐบาลเนปาลในระดับสูงที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้และแม้ในปัจจุบันก็ยังดำเนินอยู่นั้นขาดปัจจัยหลักคือความเชื่อใจระหว่างทั้งสองฝ่าย กระบวนการเจรจาสันติจึงมีอุปสรรคมาก มีความเปราะบางสูง ไม่อาจหาทางออกให้กับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งกษัตริย์คยาเนนทราที่ยังไม่ได้มอบอำนาจประชาธิปไตยที่แท้จริงแก่ประชาชน ด้วยการสั่งยุบรัฐบาลอยู่บ่อยครั้ง
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความสั่นคลอนของการบริหารประเทศ เป็นเรื่องที่นานาประเทศต่างจับตาว่ากษัตริย์คยาเนนทราจะนพาประเทศไปในทิศทางใด เพื่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องแนวคิดทางการเมืองกับกบฏลัทธิเหมา ให้ทำการวางอาวุธและทบทวนความคิดที่จะกลับมาสู่กระแสการเมืองหลักของชาติโดยสันติวิธี พร้อมทั้งการคืนอำนาจประชาธิปไตยที่แท้จริงกลับสู่มือประชาชนดังที่พระองค์รับปากเอาไว้เพื่อให้ประเทศเนปาลกลับมาสงบสุขอีกครั้ง 


ภูมิประเทศและภูมิอากาศ 

            ประเทศเนปาลมีอาณาเขตติดต่อกับทิเบตและสาธารณรัฐประชาชนจีนทางทิศเหนอ รัฐสิกขิมและเบงกอลตะวันตกของอินเดียทางทิศตะวันออกและรัฐพิหารกับอุตรประเทศของอินเดียทางทิศใต้และทิศตะวันตก มีความยาวจากเหนือจรดใต้ 145-241 กิโลเมตร และจากตะวันออกถึงตะวันตก 885 กิโลเมตร นอกจากนี้ในบางพื้นที่ยังมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลถึง 1,220 เมตรอีกด้วย 
ประเทศเนปาลแบ่งเป็น 3 เขตภูมิภาค ได้แก่

    1. เขตเทือกเขาหิมาลัย ประกอบไปด้วย 8 ยอดเขาของโลก ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลเกิน 8,000 เมตร เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งมีความสูง 8,848 เมตร เป็นต้น นับเป็นพื้นที่ 27% ของพื้นที่ทั้งหมด
    2. เขตภูเขา  มีพื้นที่ถึง 55% จากพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ เขตนี้ถูกแบ่งโดยเทือกเขามหาภารตะ ซึ่งมีความสูงถึง 4,871 เมตร และในด้านใต้มีเทือกเขาชุเรีย ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 610-1,524 เมตร
    3. เขตเตไร เป็นเขตที่ราบต่ำซึ่งมีความกว้างประมาณ 26-33 กิโลเมตร และมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลสูงสุดที่ 305 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 17% ของประเทศเนปาล
    สภาพอากาศ 

    สภาพอากาศในประเทศเนปาล แตกต่างไปตามลักษณะภูมิประเทศ ตั้งแต่ลักษณะภูมิอากาศเขตร้อนไปถึงแบบอาร์กติก ซึ่งขึ้นอยู่กับความสูงเหนือระดับน้ำทะเล ตัวอย่างเช่น เขตเตไร ซึ่งอยู่ใต้เขตร้อนของประเทศมีสภาพอากาศแบบร้อนชื้น เขตพื้นที่ภาคกลางนั้นมีอากาศดีเกือบตลอดปี ถึงแม้ช่วงกลางคืนของฤดูหนาวจะเย็นก็ตาม ส่วนในเขตภูเขาทางตอนเหนือที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลเกิน 3,353 เมตร มีสภาพอากาศแบบเทือกเขาสูงที่มีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำในฤดูหนาว 


    ประเทศเนปาลมี 4 ฤดู ได้แก่
    1. ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-พฤษภาคม) มีอากาศที่อบอุ่น แต่ก็อาจจะมีฝนตกประปราย อุณหภูมิสูงสุด 30 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 7 องศาเซลเซียส
    2. ฤดูร้อน (มิถุนายน-สิงหาคม) มีอากาศอบอุ่นถึงร้อน แต่ก็มีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม อุณหภูมสูงสุด 29 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 19 องศาเซลเซียส
    3. ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน-พฤศจิกายน) มีอากาศอบอุ่นและเย็นในบางเวลา ท้องฟ้าแจ่มใสเหมาะกับการเดินเขาเป็นอย่างยิ่ง อุณหภูมิสูงสุด 28 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 7 องศาเซลเซียส
    4. ฤดูหนาว (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) มีอากาศเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า และมีหมอกหนา ยกเว้นในช่วงที่มีแสงจากดวงอาทิตย์ อากาศจะอบอุ่น อุณหภูมิสูงสุด 19 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 2 องศาเซลเซียส





























































































































































      อารยธรรมญี่ปุ่น

          ยุคหิน   มีผู้อาศัยอยู่บนหมู่เกาะญี่ปุ่นกว่า 100,000 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ครั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินทวีปเอเชีย คนโบราณที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะญี่ปุ่นในยุคหินได้หาเลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์ และเก็บของป่ามาเป็นอาหาร อีกทั้งเมื่อประมาณ 30,000 กว่าปีก่อนได้มีวัฒนธรรมการทำหินเป็นมีดและการประดิษฐ์อาวุธเช่นหอกเข้ามาจากภาคพื้นทวีปมาสู่ดินแดนญี่ปุ่น ยุคนี้ยังคงดำรงเรื่อยมากระทั่งสิ้นสุดยุคน้ำแข็งสุดท้ายที่ได้สิ้นสุดลงในช่วงประมาณ 12,000 - 11,000 ปี ซึ่งทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์ทั่วโลกได้เปลี่ยนไปอย่างมาก ดินแดนญี่ปุ่นเว้นแต่หมู่เกาะทางตะวันตกเฉียงใต้จึงสิ้นสุดยุคหินเข้าสู่ยุคโจมง
       Image result for ยุคโจมง
          ยุคโจมง
       ได้มีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินด้วยมีการพัฒนาวิธีการล่าสัตว์โดยใช้คันธนูและลูกธนู ตลอดจนมีการผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาใส่อาหารและเก็บรักษาอาหาร ยุคประมาณ 14,000 ปี ถึง 300 ปี ก่อนคริสต์ศักราชเรียกว่า สมัยโจมง ตามรูปแบบเครื่องปั้นดินเผาโจมงที่มีลวดลายเป็นเชือก
          ยุคยะโยอิ
              ต่อมาเมื่อประมาณ 500 ถึง 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 3 ญี่ปุ่นได้เปลี่ยนเข้าสู่ คำว่ายะโยอินั้นได้มาจากแขวงหนึ่งในเขตบุงเกียวกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นสถานที่แรกที่ค้นพบร่องรอยเกี่ยวกับยุคนี้
              ช่วงต้นของยุคยะโยอิปรากฏให้เห็นถึงการที่ได้เรียนรู้ถึงการเกษตร เช่นการปลูกข้าว การทำเครื่องใช้โลหะ และการเคารพบูชาภูติผีปีศาจซึ่งเป็นัวฒนธรรมที่เข้ามาทางเกาหลีและแผ่นดินใหญ่  ชาวญี่ปุ่นใช้เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยเหล็กที่ใช้ในการเพาะปลูกในชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และใช้ดาบที่ทำด้วยทองแดงและกระจกในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา การจัดแบ่งงานทำให้ช่องว่างระหว่างผู้ปกครองดินแดนและผู้อยู่ใต้การปกครองกว้างขึ้น ในช่วงนี้รัฐเล็กๆ จำนวนมากจึงได้ก่อตัวขึ้นทั่วประเทศ
              การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นโฮ่วฮั่นชู่ว
      ในปี 57 ก่อนคริสตกาล  บันทึกได้กล่าวถึงชาววะ ที่ข้ามทะเลมาส่งบรรดาการนั้นประกอบไปด้วย 100 กว่าเผ่า หนังสือเว่ยที่เขียนขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 ยังได้กล่าวอีกว่าประเทศดังกล่าวเป็นการรวมตัวของรัฐเล็กๆ กว่า 30 รัฐ ที่มีผู้ปกครองเป็นสตรีชื่อว่าฮิมิโกะแห่งยะมะไทโกะคุ
              แหล่งโยะชิโนะงะริ เป็นแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ของยุคยะโยอิที่ตั้งอยู่บนเกาะคิวซู การขุดค้นปรากฏให้เห็นถึงส่วนที่เก่าแก่ที่สุดที่ถูกสร้างขึ้นในช่วง 400 ปีก่อน ค.ศ. วัตถุส่วนมากที่ขุดค้นพบนั้นเป็นวัตถุที่ทำจากโลหะสัมฤทธิ์รวมทั้งสิ่งที่นำเข้ามาจากจีนแล้ว

         
      ยุคเริ่มอารยธรรมญี่ปุ่น 
          ยุคโคฮุง

       ยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มมีการปกครองแบบราชวงศ์ ซึ่งศูนย์กลางการปกครองนั้นอยู่บริเวณเขตคันไซของประเทศ

              เมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแพร่จากคาบสมุทรเกาหลี มาสู่หมู่เกาะญี่ปุ่น ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชนชั้นระดับปกครองของญี่ปุ่นในขณะนั้นก็ได้สนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะ เจ้าชายโชโตะกุ พระองค์ได้สนับสนุนพระพุทธศาสนาอย่างมาก ถึงกับสร้างวัดหลายแห่งในประเทศญี่ปุ่น เช่น วัดชิเทนโนจิ วัดตามแบบพุทธศาสนาแห่งแรก วัดโฮลิวจิ นอกจากนั้นเพื่อให้ประเทศอยู่ด้วยความสงบ พระองค์ได้ทรงประกาศใช้ กฎหมาย 17 มาตรา ซึ่งเป็นกฎหมายญี่ปุ่นฉบับแรกอีกด้วย

           ยุคอาซุกะ
                 ค.ศ. 538-710 -->ยุคนี้เริ่มเข้าสู่ยุคคลาสสิค มีการรับศาสนาพุทธจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาในแดนญี่ปุ่น ส่วนลัทธิชินโตก็เริ่มเข้ามามีบทบาททางสังคมและมีการติดต่อกับอาณาจักรเกาหลี 

                                             Image result for ยุคอะซึกะ รูป

       


          ยุคนารา

              ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8 เป็นยุคแรกที่มีการก่อตัวเป็นอาณาจักรที่แข็งแรงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองอย่างมีระบบให้เห็นได้อย่างขัดเจน โดยการนำระบอบการปกครองมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ ศูนย์กลางการปกครองในขณะนั้นก็คือ เฮโจวเกียว หรือบริเวณตัวเมืองนะระ

      ในปัจจุบัน หลังจากนั้นได้ย้ายมาที่ เมืองนะงะโอะกะและ เฮอังเกียว ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นโตเกียว ตามลำดับ เมืองหลวงที่มีระยะเวลานานที่สุดก็คือ เฮอังเกียว ซึ่งได้เป็นเมืองหลวงของประเทศนานถึง 1,074 ปี ซึ่งเราได้เรียกยุคตั้งแต่สถาปนาเมืองหลวงเฮอังเกียวจนถึงการตั้ง บะกุฮุ หรือ ค่ายรัฐบาล ว่า ยุคเฮอัง



          ยุคเฮอัน

                                        Image result for ยุคเฮอัน รูป


       ค.ศ. 794-1185 --> คนไทยจะเริ่มคุ้นชื่อเฮอันบ้างละ เพราะยุคนี้ก็คือ ย้ายเมืองหลวงจากนาระ ไปที่ "เฮอันเคียว" หรือ เมืีองเกียวโต ในปัจจุบัน ยุคนี้มีการพัฒนาหลายอย่างรวมถึงการรับวัฒนธรรมจากเมืองจีนเข้ามามากขึ้น ตลอดจนสงครามเก็นเปอันมีชื่อเสียงของสองตระกูลใหญ่ คือตระกูลไทระ และตระกูลมินาโมโตะ (สุดท้ายตระกูลมินาโมโตะชนะ)

      ยุคคามาคุระ
          ยุคคามาคุระ ค.ศ. 1185-1333 --> ยุคนี้คนไทยก็คุ้นอีกเช่นกัน เพราะชื่อเดียวกับเมืองคามาคุระที่มีหลวงพ่อโตไดบุทสึ  ยุคนี้มีการย้ายเมืองหลวงมาที่คามาคุระอยู่ช่วงหนึ่ง จะได้ไกลตาสมเด็จพระจักรพรรดิ (ต้องเข้าใจว่าพระจักรพรรดิมีตำแหน่งใหญ่ก็จริง ใครก็เคารพ แต่อำนาจทางทหารมันไปตกอยู่กับตระกูลใหญ่ใกล้ตัว ดังนั้นถ้ากุมทหารไว้เยอะ คนก็อาจจะมองว่าเจ้าคนนี้คิดกบฎ สู้ออกมาตั้งเมืองใหม่แล้วทำตัวยิ่งใหญ่ไกลๆดีกว่าครับ) นอกจากนี้สมัยนี้ยังโด่งดังจากการบุกรุกของกุบไลข่าน ที่สั่งทหารของตนล่องเรือมาหวังยึดเกาะญี่ปุ่นด้วย ปรากฎว่าเจอพายุใหญ่ซัดกองเรือจมทะเล ครั้งนั้นพายุดังกล่าวได้รับการขนานนามจากผู้คนว่า "Kamikaze" ด้วยนะครับ ความหมายคือ "ลมแห่งพระเจ้า" (แต่คนสมัยใหม่จะเข้าใจว่ามันคือ การพลีชีพในสงครามโลกครั้งที่ 2)
                                                           Image result for ยุคคามุระ รูป
         ยุคมุโรมาจิ

           ยุคมุโรมาจิ ค.ศ. 1333-1568 --> ยุคนี้ก็เป็นยุคที่มีการสร้างวัฒนธรรมที่ยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน เช่น การชงชา การจัดสวนญี่ปุ่น การชำกิ่งบอนไซ ละครโนะห์ การจัดดอกไม้ แถมด้วยการมาถึงของ "ฝรั่งตาน้ำข้าว" พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาคริสต์และเทคโนโลยี "ปืน" และที่คนไทยแทบทุกคนรู้จักกันดีก็คือ "อิคคิวซัง" เกิดในยุคนี้ ต่อมาก็เกิดยุคสงครามกลางเมืองระหว่างแม่ทัพต่างๆ ยุคนี้ดังมากจนเอาไปสร้างเป็นเกม/หนัง/นิยายมาเยอะแล้ว คือยุคเซนโกกุ ครับ (เป็นช่วงแทรกในยุคมุโรมาจินี่)

                                                          Image result for ยุคมุโรมาจิ รูป
      ยุคอะซุชิ-โมโนยามะ

            ยุคอะซุชิ-โมโมยามะ ค.ศ. 1568-1600 -->ผลพวงจากยุคเซนโกกุที่แม่ทัพทั้งหลายรบกัน มีอยู่สามคนที่โดดเด่นที่สุด นั่นคือ โอดะ โนบุนางะ, โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ และ โตกุกาว่า อิเอะยาสึ ทั้งสามคนเคยเป็นสหายร่วมรบกันมาก่อน แต่ภายหลังเสือย่อมอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ เมื่อโอดะ โนบุนางะตายเพราะถูกแม่ทัพตัวเองทรยศ ฮิเดโยชิจึงรับช่วงต่อ ( เจ้าของปราสาทโอซาก้าตัวจริง) และสุดท้ายก็ถูกอิเอยาสึประกาศตัดไมตรีและเข้ารบกัน สุดท้ายอิเอยาสึชนะครับ (สงครามที่ทุ่งเซกิงาฮาระ เป็นสงครามที่นองเลือดของญี่ปุ่น)
                                                           Image result for ยุคอะซุชิ รูป
         ยุคเอโดะ
           ยุคเอโดะ ค.ศ. 1600-1868 --> ครั้นอิเอยาสึชนะในศึกสงครามก็รวบรวมประเทศเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง ก็ได้ปกครองประเทศอย่างยาวนาน โชกุนตระกูลอิเอยาสึยังคงมีเชื้อสายสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนช่วงนี้จะมีเหตุการณ์ที่เด็กไทยก็ได้เรียนด้วย นั่นคือ ช่วงนี้แหละที่ "ยามาดะ นางามาซะ" ชาวญี่ปุ่นได้เดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยาและได้เป็นข้ารับใช้ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจนต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ช่วงหนึ่ง   ส่วนทางญี่ปุ่นก็ใช่ย่อยเพราะโชกุนมีนโยบายขับไล่ฝรั่งออกไปจากประเทศให้หมด (ตัดปัญหาเรื่องศาสนาคริสต์ด้วย เพราะมีเหตุจลาจลเกิดขึ้นจากความต่างทางศาสนาจริงๆ) คงเหลือแต่ให้ค้าขายได้เล็กน้อยที่เกาะเดจิมะเท่านั้น ต่อมาก็มี "เรือดำ (คุโระฟุเนะ)"จากสหรัฐอเมริกา นำทีมโดยพลเรือจัตวาแมทธิว เพอรี่ เข้ามา "บีบ" ให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศและทำการค้าด้วย จุดนี้ก็เริ่มทำให้โชกุนหนักใจ เพราะความที่ปิดประเทศมานาน เทคโนโลยีโลกมันเดินหน้าไปไกลแล้ว เพราะอเมริกาเลิกใช้เรือใบแล้วครับ เขาใช้เรือกลไฟแทนแล้ว แถมหุ้มเกราะเหล็กอีกต่างหากอาวุธก็เป็นแบบไฮเทคหมดแล้ว ปืนใหญ่ ปืนกลก็ยิงได้ไวขึ้นถี่ขึ้น สุดท้ายโชกุนก็ต้องยอมเปิดประเทศแถมสงครามโบชินอีก สุดท้ายตระกูลโตกุกาวะก็ต้องคืนอำนาจให้พระจักรพรรดิญี่ปุ่นหลังจากปกครองประเทศมากว่าสองร้อยปี
                                         Image result for ยุคเอโดะ รูป
      ยุคเมจิ
          ยุคปฎิรูปเมจิ ค.ศ. 1868-1912 --> ยุคนี้ญี่ปุ่นก็มีสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิขึ้นครองราชย์ ทรงย้ายเมืองหลวงจากเกียวโตมาที่ "เอโดะ" หรือ "กรุงโตเกียว" ในปัจจุบันนี้จากนั้นญี่ปุ่นก็ทำการปรับปรุงตนเองขนานใหญ่ให้ทัดเทียมประเทศตะวันตก ส่วนเหตุการณ์ที่คนไทยพอจะนึกออกในช่วงนี้ก็คือ "The Last Samurai" นำแสดงโดย Tom Cruise นั่นเองครับ เกิดเหตุการณ์ช่วงนี้แหละ แต่ซามูไรคนสุดท้ายตัวจริงเป็นคนญี่ปุ่น ชื่อ ไซโก ทาคาโมริ นะครับ
                                                             Image result for ยุคเมจิ รูป
      ยุคไทโช
           ยุคไทโช ค.ศ. 1912-1926 --> ยุคนี้ตรงกับสงครามโลกครั้งที่ 1 และรัชกาลที่ 6 ของสยามประเทศ ครั้งนี้ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรและได้รับชัยชนะในที่สุด
                                                                       Image result for ยุคไทโช รูป
         ยุคโชวะ
           ยุคโชวะ ค.ศ. 1926-1989 --> ยุคนี้คนไทยก็รู้จักเป็นอย่างดี เพราะเป็นยุคที่คุ้นหูมากที่สุดยุคหนึ่งทั้งในการ์ตูน หนังสือและสื่อต่างๆ ตลอดจนเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยครับ โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโต้ครองบัลลังก์ ยุคก่อนสงครามจะปะทุญี่ปุ่นเจริญก้าวหน้ามากนะครับ มีเรือรบ เรือบรรทุกเครื่องบิน เครื่องบินรบ แถมมีเรือดำน้ำและอาวุธต่างๆที่่ทันสมัยมากๆ แถมมีรถใต้ดินสายแรกในประเทศเมื่อปี 1927 ด้วยซ้ำ! (สร้างก่อนหน้าประเทศไทย 77 ปี)และแม้ว่าญี่ปุ่นจะพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 แบบราบคาบ แต่จิตวิญญาณของคนญี่ปุ่นสุดยอดมาก ทำให้ประเทศผงาดเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจได้ในช่วงปลายปี 80s ในที่สุด การ์ตูนโดราเอมอนก็เกิดในยุคนี้นะครับ ตีพิมพ์เมื่อปี 1969 
                                                   Image result for ยุคโชวะ

      ยุคเฮเซย์
         ยุคเฮย์เซย์ ค.ศ. 1989-ปัจจุบัน --> สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดา และคงไม่ต้องบอกอะไรมากเพราะนี่คือทุกวันนี้ของญี่ปุ่นนั่น นอกจากเหตุการณ์สำคัญเมื่อปี 2011 ที่เกิด Tsunami แถวโทโฮขุจนทำให้เกิดวิกฤตรังสีรั่วไหลที่โรงงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ ที่น่าจะส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องแก้ปัญหาไปอีกนานพอสมควร พร้อมกับพิษเศรษฐกิจที่กำลังส่งผลในปัจจุบัน


              วัดคิงงะกุจิ
      ในเมืองเกียวโต ซึ่งอาจจะเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดของญี่ปุ่น เป็นที่พำนักของโชกุนในยุคมุโระมะจิ

              ระหว่างปี พ.ศ. 1337 จนถึง ปี พ.ศ. 1728 ซึ่งเป็น ยุคเฮอัง นั้น ถือได้ว่าเป็นยุคทองของญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นยุคสมัยที่เริ่มมีการปรากฏของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ซึ่งเกิดจากการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมจีน และของตนเอง สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดมากที่สุดคือ การประดิษฐ์ตัวอักษร ฮิรางานะ ซึ่งทำให้เกิดวรรณกรรมที่แต่งโดยตัวอักษรนี้เป็นจำนวนมาก เช่นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 มุระซะกิ ชิกิบุ สาวใช้ชาววัง ได้แต่งนวนิยายเรื่อง นิทานเกนจิหรือตำนานเกนจิขึ้นซึ่งเป็นนิยายที่บรรยายเกี่ยวกับการใช้ชีวิตการปกครองของตระกูลฟุจิวะระนอกจากนั้นนวนิยายเรื่องนี้ยังเป็นนวนิยายที่เก่าแก่รองจากนวนิยายสามอาณาจักร(เกาหลี)ที่ยังมีให้เห็นในโลกอยู่อีกด้วย

      เกียวโต (Kyoto)

              นครแห่งนี้เป็นเมืองหลวงและที่ประทับของจักรพรรดิญี่ปุ่นมาเกือบ 1,100ปีจำลองแบบจากนครฉางอันเป็นเมืองหลวงของจีนในสมัย ราชวงศ์ถัง ปัจจุบันคือเมืองซีอานโดยผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีถนนตัดกันเป็นรูปตารางและยังคงปรากฎหลักฐานมาจนถึงปัจจุบันเกียวโตคือสัญญลักษณ์
      ความเป็นประเพณีนิยมของญี่ปุ่นเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่เก็บรักษาศิลปวัฒนธรรมของญี่ปุ่นไว้ เป็นเมืองใหญ่อันดับ  7 ของญี่ปุ่น มีจำนวนประชากร 1,400,000 คน


          สถานที่สำคัญ
              ศาลเจ้าเฮอันจิงงุ 


      สร้างขึ้นในปี 1895 เพื่อเป็นอนุสรณ์ครบรอบปีที่ 1100 ของเกียวโต โดยอุทิศถวายแด่สมเด็จพระจักรพรรดิองค์แรกและองค์สุดท้ายของนครแห่งนี้ แบบจำลองมาจากพระราชวังอิมพีเรียลองค์เดิม มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบสมัยเฮอัน ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากจีนสูงที่สุด 


              วัดคิโยมิซึ มีวิหารใหญ่ตั้งอยู่บนไหล่เขา รองรับด้วยเสาไม้มหึมา โดยระเบียงอันเป็นเวทีร่ายรำนั้นยื่นชะโงกเหนือหุบเหว วัดนี้มีอายุเก่าแก่กว่านครเกียวโต สร้างในปี ค.ศ. 788 ถวายแด่พระโพธิสัตว์กวนอิม  11 พักตร์ ด้านหลังวิหารใหญ่คือศาลเจ้าจิชู  ซี่งเป็นศาลที่รู้จักกันดีที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นที่ประทับของเทพเจ้าแห่งความรักและความราบรื่นในชีวิตสมรสที่ศาลเจ้านี้มีหินตาบอด  ซึ่งห้ามเดินข้ามแต่ ถ้าสาวๆจะเดินผ่านก้อนหินที่ขนาบสองข้างนั้นต้องหลับตา เชื่อกันว่าถ้าสามารถเดินท่องชื่อคนรักในใจไปได้ไกลถึง 20 เมตรแล้ว


              ศาลเจ้ายาซากะจินจะหรือมีอีกชื่อว่า งิอนซัง  เนื่องจากอยู่ใกล้ย่านงิอน มีซุ้มประตูสร้างด้วยหินแกรนิตสูง 9 เมตร จัดเป็นซุ้มประตูที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น ทางด้านหลังของศาลมีทางออกสู่สวนสาธารณะมารุยามะโคเอ็น ความงามของสวนและความตระการตาของซากุระช่วงต้นเมษายนของที่นี่เป็นที่รู้จักกันดี

               วัดนันเซนจิ  ซึ่งเป็นวัดเซนที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในเกียวโตด้วย ภายในอารามประกอบด้วยโบสถ์กลาง และโบสถ์เล็ก 12 แห่ง โดยเปิดให้เข้าชมเพียง 4 แห่ง ภายในวัดคุณก็จะสัมผัสได้ถึงปรัชญาแห่งเซน เนื่องจากความกลมกลืนของหมู่สนกับสถาปัตยกรรม วัด ศิลปะการจัดสวนอย่างลงตัว สิ่งเหล่านี้โน้มใจผู้มองให้คล้อยตาม

              วัดงิงคะคูจิ หรือวัดศาลาเงิน ซึ่งสร้างในปี  1489 โดยโชกุนอาชิคางะเอระ ชั้นแรกของวิหารใช้เป็นที่อยู่อาศัย มีลักษณะแบบชินเด็น  ส่วนชั้นที่สองเป็นห้องบูชา เป็นพุทธศิบป์แบบจีนภายในสวนมีเนินหินสีขาวสร้างขึ้นเพื่อให้จันทร์สะท้อนแสงอาบไล้ทั่วบริเวณตรงปีกตะวันออกเฉียงเหนือของวิหารก็จะได้พบกับห้องชงชาโบราณซึ่งจัดว่าเก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น

              วัดคินคะคุจิ ซึ่งรู้จักกันดีที่สุดในเกียวโต วิหารหุ้มด้วยทองคำมี  3 ชั้น โดยชั้นแรกมีลักษณะเป็นพระราชวัง ชั้นที่สองเป็นแบบบ้านซามูไร ส่วนชั้นที่สามเป็นแบบวัดเซน วัดแห่งนี้ล้อมรอบด้วยสระน้ำกว้างใหญ่ โอบล้อมด้วยแมกไม้จึงมีทัศนียภาพที่งดงามยิ่ง

              ย่านเก่างิอน เป็นย่านเริงรมย์หรือถิ่นเกอิชาชื่อกระฉ่อนของเกียวโต ในเกียวโตเรียกเกอิชาว่า "ไมโกะหรือเกโกะ"สมัยโบราณคำว่าเกอิชาในเมืองเกียวโตหมายถึงผู้ให้ความบันเทิงซึ่งเป็นชายแต่แต่งกาย เป็นหญิง แต่ในเมืองโตเกียวและโอซาก้าคำนี้หมายถึงผู้ให้ความบันเทิงที่เป็น หญิง ไมโกะเป็นเด็กรุ่นสาวอายุราว 16 ปี ตรงเอวรัดผ้าแถบยาวเรียก โอบิ อันเป็นลักษณะเฉพาะ พออายุได้ 21 ปี ก็ขยับฐานะไปเป็นเกโกะ แต่งชุดกิโมโนประดับประดาเต็มที่

         


        ปราสาทฮิเมจิ
             ปราสาทฮิเมจิเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์ของปราสาทญี่ปุ่น ด้วยมีลักษณะสถาปัตยกรรมและยุทโธปกรณ์ครบตามแบบของปราสาทญี่ปุ่น ทั้งฐานหินสูง กำแพงสีขาว และอาคารต่างๆในบริเวณปราสาทถือได้ว่าเป็นมาตรฐานตามแบบของปราสาทญี่ปุ่น และรอบๆปราสาทยังมีเครื่องป้องกันอีกมากมาย เช่น ช่องใส่ปืนใหญ่ รูสำหรับโยนหินออกนอกปราสาท
             จุดเด่นของปราสาทอย่างหนึ่งคือ ทางเดินสู่อาคารหลักซึ่งสลับซับซ้อนราวกับเขาวงกต ทั้งประตูและกำแพงต่างๆในปราสาทได้รับการออกแบบมาอย่างดีเพื่อป้องกันศัตรูไม่ให้บุกรุกเข้าถึงโดยง่าย โดยทางเดินมีลักษณะเป็นวงก้นหอยรอบๆอาคารหลัก และระหว่างทางก็จะพบทางตันอีกมากมาย ระหว่างที่ศัตรูกำลังหลงทางอยู่นี้ก็จะถูกโจมตีจากข้างบนอาคารหลักได้โดยสะดวก แต่อย่างไรก็ตาม ปราสาทฮิเมจิก็ยังไม่เคยถูกโจมตีในลักษณะนี้เลย ระบบการป้องกันต่างๆจึงยังไม่เคยถูกใช้งาน

                Image result for ปราสาทฮิเมจิ ประวัติศาสตร์

          การแต่งกาย
                    คำว่า กิโมโน (kimono) ถ้าแปลตามตัวแล้วหมายถึง เสื้อผ้า ถือได้ว่าเป็นชุดประจำชาติของญี่ปุ่น สามารถสวมใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง มีลักษณะพิเศษตรงที่ชายเสื้อจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีผ้าแพรพันสะเอว (obi) ต่างกับชุดที่เป็นเสื้อผ้าของตะวันตก (yofuku) อย่างชัดเจน
          ผู้ที่สวมกิโมโนในชีวิตประจำวันจะมีเพียงผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับศิลปะญี่ปุ่นแต่โบราณเท่านั้น หรือสวมใส่เฉพาะงานพิธีการต่างๆ
          ตั้งแต่สมัยเฮอัน หรือ ค.ศ. 794-1192(ประมาณ พ.ศ. 1337-1735) ก่อนหน้านั้นซึ่งเป็นสมัยนารา(ค.ศ. 710-794) ชาวญี่ปุ่นนิยมแต่งชุดท่อนบนกับท่อนล่างเหมือนกันหรือไม่ก็เป็นผ้าชิ้นเดียวกันไปเลย  พอมาถึงสมัยเฮอันซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นการใส่กิโมโน ชาวญี่ปุ่นพัฒนาเทคนิคการตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยการตัดผ้าเป็นเส้นตรง เพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส่ อีกทั้งยังเป็นที่เหมาะกับทุกสภาพอากาศ ถ้าฤดูหนาวใช้ผ้าหนา ถ้าฤดูร้อนใช้ผ้าบางๆความสะดวกสบายนี้ทำให้ชุดกิโมโนแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ผู้ตัดเย็บจะคิดค้นหาวิธีที่ทำให้ชุดกิโมโนมีสีสันผสมผสานกันด้วยสีต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ
          ต่อมาในยุคเอโดะ(ค.ศ. 1600-1868) ในช่วงนี้นักรบซามูไรแต่ละสำนักแต่งตัวแบ่งแยกตามกลุ่มของตัวเอง เรียกว่า ชุดเครื่องแบบ ชุดที่ใส่นี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือชุดกิโมโน ชุดคามิชิโมตัดเย็บด้วยผ้าลินินใส่คลุมชุดกิโมโนเพื่อให้ไหล่ดูตั้ง กางเกงขายาวที่ดูเหมือนชุดกระโปรงแยกชิ้นชุดกิโมโนของซามูไรจำเป็นต้องเนี๊ยบมากนับเป็นผลงานศิลปะอีกชิ้นหนึ่ง
        สมัยต่อมาในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868- 1912) ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากชาวต่างชาติจึงเริ่มเปลี่ยนไปใส่ชุดสากลมากขึ้น และจะใส่ชุดกิโมโนที่เป็นงานพิธีการเท่านั้น

                                       Image result for กิโมโน
      นาฏศิลป์ของญี่ปุ่น
      ประวัติของละครญี่ปุ่นเริ่มต้นประมาณศตวรรษที่7แบบแผนการแสดงต่างๆที่ปรากฏอยู่ในครั้งยังมีเหลืออยู่ และปรากฏชัดเจนแสดงสมัยปัจจุบันนี้ ได้แก่ ละครโนะ ละครคาบูกิ ปูงักกุ ละครหุ่นบุนระกุ การกำเนิดของละครญี่ปุ่น กล่าวกันว่ามีกำเนิดมาจากพื้นเมืองเป็นปฐม กล่าวคือวิวัฒนาการมาจากการแสดง ระบำบูชาเทพเจ้าแห่งภูเขาไฟและต่อมาญี่ปุ่นได้รับแบบแผนการแสดงมาจากประเทศจีนโดยได้รับผ่านประเทศ เกาหลีช่วงหนึ่ง
      1.ละครโนะ
                              Image result for ละครโน
               เป็นละครแบบโบราณมีกฎเกณฑ์และระเบียบแบบแผนในการแสดงมากมาย ในปัจจุบันถือเป็นศิลปะชั้น สูงประจำชาติของญี่ปุ่นที่ได้รับการอนุรักษ์เอาไว้ละครโนะเกิดขึ้นมาช้านานแล้วแต่เริ่มมาเฟื่องฟูในครึ่งหลังของศตวรรษที่14โดยมีคันอามิกับเซอามิสองพ่อลูกเป็นผู้วางรากฐานของการแสดงละครโนะอันเป็นแบบฉบับมาจนถึงปัจจุบันนี้  ในปี พ.ศ.2473 วงการละครโนะของญี่ปุ่นได้มีการเคลื่อนไหวที่จะทำให้ละครประเภทนี้ทันสมัยขึ้น  โดยจุดประสงค์เพื่อประยุกต์การเขียนบทละครใหม่ๆ ที่มีเนื้อเรื่องเป็นปัจจุบันและใช้ภาษาสมัยใหม่รวมทั้งให้ผู้แสดงสวมเสื้อผ้าแบบสมัยนิยมด้วย นอกจากนี้ยังมีสิ่งใหม่ๆที่นำมาเพิ่มเติมด้วยเช่น ให้มีการร้องอุปรากร การเล่นดนตรีราชสำนักงะงักกุและการใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ซึ่งละครแบบประยุกต์ใหม่นี้เรียกว่า "ชินชากุโน"
      2.ละครคาบูกิ
                                         Image result for ละครโน
                เป็นละครอีกแบบหนึ่งของญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมมากกว่าละครโน้ะ มีลักษณะเป็นการเชื่อมประสานความบันเทิงจากมหรสพของยุคเก่าเข้ากับยุคปัจจุบันคำว่า คาบูกิ” หมายถึง การผสมผสาน ระหว่างโอเปร่า บัลเล่ต์ และละคร ซึ่งมีทั้งการร้อง การรำ และการแสดงละคร
      3.บูงักกุ           
       ลักษณะการแสดงเป็นการแสดงที่มีลักษณะเป็นการร่ายรำที่แตกต่างจากการร่ายรำของญี่ปุ่น แบบอื่น คือ  1) บูงักกุ จะเน้นไปในทางร่ายรำล้วนๆ มากกว่าที่จะเน้นเนื้อหาของบทละคร ซึ่งถือว่ามีความสำคัญน้อย กว่าการร่ายรำ       
      2) ท่ารำบูงักกุ จะเน้นส่วนสัดอันกลมกลืน ไม่เฉพาะในการรำคู่ แม้ในการรำเดี่ยวก็มีหลักเกณฑ์แบบ เดียวกัน
         4.ละครหุ่นบุระกุ
                                                 Image result for ละครหุ่นบูระกุ
               การแสดงละครหุ่นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น เป็นศิลปะชั้นสูงที่ประเทศญี่ปุ่นภาคภูมิใจ บุนรากุ เดิมเป็น ชื่อของโรงละครที่จัดแสดงละครหุ่น แต่ได้กลายเป็นชื่อของการแสดงศิลปะแขนงนี้และใช้อยู่จนทุกวันนี้   บุนรากุกลายเป็นที่รู้จักประมาณปลายยุคสมัยเมจิ (1868-1962)  ก่อนหน้านั้น ศิลปะแขนงนี้เรียกว่า อะยาทซึริ โจรุริ ชิไบ หรือ นิงเกียวโจรุริ หรือการแสดงนิทานหุ่น (ในสมัยโบราณนิยมละครที่ใช้วิธีการเล่าเรื่องเชิงพรรณนาโวหารด้วยบทกวี ไม่ใช้บทพูดเหมือนปัจจุบัน) ปัจจุบัน โจรุริ เป็นชื่อของดนตรีชามิเซ็น (เครื่องดนตรีของญี่ปุ่นที่มีสามสายใช้ดีดมีลักษณะเหมือนกีตาร์หรือเบนโจ) ซึ่งชื่อนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงบทของละครหุ่นที่ใช้แสดงด้วยการร่ายประกอบ ดนตรี (เหมือนการแสดงหุ่นหลวงหรือโขนบ้านเรา) โลกแห่งบุนรากุที่ได้บัญญัติขึ้นมาใหม่นี้ที่ไม่เพียงแต่คุณภาพของการใช้ เทคนิคศิลปะชั้นสูง แต่ด้วยการใช้ดนตรีโจรุริชั้นสูงและเอกลักษณ์ของการเชิดหุ่นที่เป็นธรรมชาติ โดยหุ่นแต่ละตัวจะใช้นักเชิดหุ่น คน ทำให้หุ่นมีชีวิตชีวาขึ้นมา































































      ศิลปวัฒนธรรมของจีน                         ศิลปวัฒนธรรมของจีน           จิตรกรรม           มีวิวัฒนาการมาจากการเขียนตัวอ...