อารยธรรมญี่ปุ่น
ยุคหิน มีผู้อาศัยอยู่บนหมู่เกาะญี่ปุ่นกว่า 100,000 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ครั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินทวีปเอเชีย คนโบราณที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะญี่ปุ่นในยุคหินได้หาเลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์ และเก็บของป่ามาเป็นอาหาร อีกทั้งเมื่อประมาณ 30,000 กว่าปีก่อนได้มีวัฒนธรรมการทำหินเป็นมีดและการประดิษฐ์อาวุธเช่นหอกเข้ามาจากภาคพื้นทวีปมาสู่ดินแดนญี่ปุ่น ยุคนี้ยังคงดำรงเรื่อยมากระทั่งสิ้นสุดยุคน้ำแข็งสุดท้ายที่ได้สิ้นสุดลงในช่วงประมาณ 12,000 - 11,000 ปี ซึ่งทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์ทั่วโลกได้เปลี่ยนไปอย่างมาก ดินแดนญี่ปุ่นเว้นแต่หมู่เกาะทางตะวันตกเฉียงใต้จึงสิ้นสุดยุคหินเข้าสู่ยุคโจมง


ยุคโจมง
ได้มีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินด้วยมีการพัฒนาวิธีการล่าสัตว์โดยใช้คันธนูและลูกธนู ตลอดจนมีการผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาใส่อาหารและเก็บรักษาอาหาร ยุคประมาณ 14,000 ปี ถึง 300 ปี ก่อนคริสต์ศักราชเรียกว่า สมัยโจมง ตามรูปแบบเครื่องปั้นดินเผาโจมงที่มีลวดลายเป็นเชือก
ยุคยะโยอิ
ต่อมาเมื่อประมาณ 500 ถึง 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 3 ญี่ปุ่นได้เปลี่ยนเข้าสู่ คำว่ายะโยอินั้นได้มาจากแขวงหนึ่งในเขตบุงเกียวกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นสถานที่แรกที่ค้นพบร่องรอยเกี่ยวกับยุคนี้
ช่วงต้นของยุคยะโยอิปรากฏให้เห็นถึงการที่ได้เรียนรู้ถึงการเกษตร เช่นการปลูกข้าว การทำเครื่องใช้โลหะ และการเคารพบูชาภูติผีปีศาจซึ่งเป็นัวฒนธรรมที่เข้ามาทางเกาหลีและแผ่นดินใหญ่ ชาวญี่ปุ่นใช้เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยเหล็กที่ใช้ในการเพาะปลูกในชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และใช้ดาบที่ทำด้วยทองแดงและกระจกในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา การจัดแบ่งงานทำให้ช่องว่างระหว่างผู้ปกครองดินแดนและผู้อยู่ใต้การปกครองกว้างขึ้น ในช่วงนี้รัฐเล็กๆ จำนวนมากจึงได้ก่อตัวขึ้นทั่วประเทศ
การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นโฮ่วฮั่นชู่ว
ในปี 57 ก่อนคริสตกาล บันทึกได้กล่าวถึงชาววะ ที่ข้ามทะเลมาส่งบรรดาการนั้นประกอบไปด้วย 100 กว่าเผ่า หนังสือเว่ยที่เขียนขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 ยังได้กล่าวอีกว่าประเทศดังกล่าวเป็นการรวมตัวของรัฐเล็กๆ กว่า 30 รัฐ ที่มีผู้ปกครองเป็นสตรีชื่อว่าฮิมิโกะแห่งยะมะไทโกะคุ
แหล่งโยะชิโนะงะริ เป็นแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ของยุคยะโยอิที่ตั้งอยู่บนเกาะคิวซู การขุดค้นปรากฏให้เห็นถึงส่วนที่เก่าแก่ที่สุดที่ถูกสร้างขึ้นในช่วง 400 ปีก่อน ค.ศ. วัตถุส่วนมากที่ขุดค้นพบนั้นเป็นวัตถุที่ทำจากโลหะสัมฤทธิ์รวมทั้งสิ่งที่นำเข้ามาจากจีนแล้ว
ยุคเริ่มอารยธรรมญี่ปุ่น
ยุคโคฮุง
ยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มมีการปกครองแบบราชวงศ์ ซึ่งศูนย์กลางการปกครองนั้นอยู่บริเวณเขตคันไซของประเทศ
เมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแพร่จากคาบสมุทรเกาหลี มาสู่หมู่เกาะญี่ปุ่น ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชนชั้นระดับปกครองของญี่ปุ่นในขณะนั้นก็ได้สนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะ เจ้าชายโชโตะกุ พระองค์ได้สนับสนุนพระพุทธศาสนาอย่างมาก ถึงกับสร้างวัดหลายแห่งในประเทศญี่ปุ่น เช่น วัดชิเทนโนจิ วัดตามแบบพุทธศาสนาแห่งแรก วัดโฮลิวจิ นอกจากนั้นเพื่อให้ประเทศอยู่ด้วยความสงบ พระองค์ได้ทรงประกาศใช้ กฎหมาย 17 มาตรา ซึ่งเป็นกฎหมายญี่ปุ่นฉบับแรกอีกด้วย
ยุคอาซุกะ
ค.ศ. 538-710 -->ยุคนี้เริ่มเข้าสู่ยุคคลาสสิค มีการรับศาสนาพุทธจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาในแดนญี่ปุ่น ส่วนลัทธิชินโตก็เริ่มเข้ามามีบทบาททางสังคมและมีการติดต่อกับอาณาจักรเกาหลี
ยุคนารา
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8 เป็นยุคแรกที่มีการก่อตัวเป็นอาณาจักรที่แข็งแรงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองอย่างมีระบบให้เห็นได้อย่างขัดเจน โดยการนำระบอบการปกครองมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ ศูนย์กลางการปกครองในขณะนั้นก็คือ เฮโจวเกียว หรือบริเวณตัวเมืองนะระ
ในปัจจุบัน หลังจากนั้นได้ย้ายมาที่ เมืองนะงะโอะกะและ เฮอังเกียว ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นโตเกียว ตามลำดับ เมืองหลวงที่มีระยะเวลานานที่สุดก็คือ เฮอังเกียว ซึ่งได้เป็นเมืองหลวงของประเทศนานถึง 1,074 ปี ซึ่งเราได้เรียกยุคตั้งแต่สถาปนาเมืองหลวงเฮอังเกียวจนถึงการตั้ง บะกุฮุ หรือ ค่ายรัฐบาล ว่า ยุคเฮอัง
ยุคเฮอัน
ค.ศ. 794-1185 --> คนไทยจะเริ่มคุ้นชื่อเฮอันบ้างละ เพราะยุคนี้ก็คือ ย้ายเมืองหลวงจากนาระ ไปที่ "เฮอันเคียว" หรือ เมืีองเกียวโต ในปัจจุบัน ยุคนี้มีการพัฒนาหลายอย่างรวมถึงการรับวัฒนธรรมจากเมืองจีนเข้ามามากขึ้น ตลอดจนสงครามเก็นเปอันมีชื่อเสียงของสองตระกูลใหญ่ คือตระกูลไทระ และตระกูลมินาโมโตะ (สุดท้ายตระกูลมินาโมโตะชนะ)
ยุคคามาคุระ
ยุคคามาคุระ ค.ศ. 1185-1333 --> ยุคนี้คนไทยก็คุ้นอีกเช่นกัน เพราะชื่อเดียวกับเมืองคามาคุระที่มีหลวงพ่อโตไดบุทสึ ยุคนี้มีการย้ายเมืองหลวงมาที่คามาคุระอยู่ช่วงหนึ่ง จะได้ไกลตาสมเด็จพระจักรพรรดิ (ต้องเข้าใจว่าพระจักรพรรดิมีตำแหน่งใหญ่ก็จริง ใครก็เคารพ แต่อำนาจทางทหารมันไปตกอยู่กับตระกูลใหญ่ใกล้ตัว ดังนั้นถ้ากุมทหารไว้เยอะ คนก็อาจจะมองว่าเจ้าคนนี้คิดกบฎ สู้ออกมาตั้งเมืองใหม่แล้วทำตัวยิ่งใหญ่ไกลๆดีกว่าครับ) นอกจากนี้สมัยนี้ยังโด่งดังจากการบุกรุกของกุบไลข่าน ที่สั่งทหารของตนล่องเรือมาหวังยึดเกาะญี่ปุ่นด้วย ปรากฎว่าเจอพายุใหญ่ซัดกองเรือจมทะเล ครั้งนั้นพายุดังกล่าวได้รับการขนานนามจากผู้คนว่า "Kamikaze" ด้วยนะครับ ความหมายคือ "ลมแห่งพระเจ้า" (แต่คนสมัยใหม่จะเข้าใจว่ามันคือ การพลีชีพในสงครามโลกครั้งที่ 2)
ยุคมุโรมาจิ
ยุคมุโรมาจิ ค.ศ. 1333-1568 --> ยุคนี้ก็เป็นยุคที่มีการสร้างวัฒนธรรมที่ยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน เช่น การชงชา การจัดสวนญี่ปุ่น การชำกิ่งบอนไซ ละครโนะห์ การจัดดอกไม้ แถมด้วยการมาถึงของ "ฝรั่งตาน้ำข้าว" พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาคริสต์และเทคโนโลยี "ปืน" และที่คนไทยแทบทุกคนรู้จักกันดีก็คือ "อิคคิวซัง" เกิดในยุคนี้ ต่อมาก็เกิดยุคสงครามกลางเมืองระหว่างแม่ทัพต่างๆ ยุคนี้ดังมากจนเอาไปสร้างเป็นเกม/หนัง/นิยายมาเยอะแล้ว คือยุคเซนโกกุ ครับ (เป็นช่วงแทรกในยุคมุโรมาจินี่)

ยุคอะซุชิ-โมโนยามะ
ยุคอะซุชิ-โมโมยามะ ค.ศ. 1568-1600 -->ผลพวงจากยุคเซนโกกุที่แม่ทัพทั้งหลายรบกัน มีอยู่สามคนที่โดดเด่นที่สุด นั่นคือ โอดะ โนบุนางะ, โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ และ โตกุกาว่า อิเอะยาสึ ทั้งสามคนเคยเป็นสหายร่วมรบกันมาก่อน แต่ภายหลังเสือย่อมอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ เมื่อโอดะ โนบุนางะตายเพราะถูกแม่ทัพตัวเองทรยศ ฮิเดโยชิจึงรับช่วงต่อ ( เจ้าของปราสาทโอซาก้าตัวจริง) และสุดท้ายก็ถูกอิเอยาสึประกาศตัดไมตรีและเข้ารบกัน สุดท้ายอิเอยาสึชนะครับ (สงครามที่ทุ่งเซกิงาฮาระ เป็นสงครามที่นองเลือดของญี่ปุ่น)

ยุคเอโดะ
ยุคเอโดะ ค.ศ. 1600-1868 --> ครั้นอิเอยาสึชนะในศึกสงครามก็รวบรวมประเทศเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง ก็ได้ปกครองประเทศอย่างยาวนาน โชกุนตระกูลอิเอยาสึยังคงมีเชื้อสายสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนช่วงนี้จะมีเหตุการณ์ที่เด็กไทยก็ได้เรียนด้วย นั่นคือ ช่วงนี้แหละที่ "ยามาดะ นางามาซะ" ชาวญี่ปุ่นได้เดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยาและได้เป็นข้ารับใช้ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจนต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ช่วงหนึ่ง ส่วนทางญี่ปุ่นก็ใช่ย่อยเพราะโชกุนมีนโยบายขับไล่ฝรั่งออกไปจากประเทศให้หมด (ตัดปัญหาเรื่องศาสนาคริสต์ด้วย เพราะมีเหตุจลาจลเกิดขึ้นจากความต่างทางศาสนาจริงๆ) คงเหลือแต่ให้ค้าขายได้เล็กน้อยที่เกาะเดจิมะเท่านั้น ต่อมาก็มี "เรือดำ (คุโระฟุเนะ)"จากสหรัฐอเมริกา นำทีมโดยพลเรือจัตวาแมทธิว เพอรี่ เข้ามา "บีบ" ให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศและทำการค้าด้วย จุดนี้ก็เริ่มทำให้โชกุนหนักใจ เพราะความที่ปิดประเทศมานาน เทคโนโลยีโลกมันเดินหน้าไปไกลแล้ว เพราะอเมริกาเลิกใช้เรือใบแล้วครับ เขาใช้เรือกลไฟแทนแล้ว แถมหุ้มเกราะเหล็กอีกต่างหากอาวุธก็เป็นแบบไฮเทคหมดแล้ว ปืนใหญ่ ปืนกลก็ยิงได้ไวขึ้นถี่ขึ้น สุดท้ายโชกุนก็ต้องยอมเปิดประเทศแถมสงครามโบชินอีก สุดท้ายตระกูลโตกุกาวะก็ต้องคืนอำนาจให้พระจักรพรรดิญี่ปุ่นหลังจากปกครองประเทศมากว่าสองร้อยปี
ยุคเมจิ
ยุคปฎิรูปเมจิ ค.ศ. 1868-1912 --> ยุคนี้ญี่ปุ่นก็มีสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิขึ้นครองราชย์ ทรงย้ายเมืองหลวงจากเกียวโตมาที่ "เอโดะ" หรือ "กรุงโตเกียว" ในปัจจุบันนี้จากนั้นญี่ปุ่นก็ทำการปรับปรุงตนเองขนานใหญ่ให้ทัดเทียมประเทศตะวันตก ส่วนเหตุการณ์ที่คนไทยพอจะนึกออกในช่วงนี้ก็คือ "The Last Samurai" นำแสดงโดย Tom Cruise นั่นเองครับ เกิดเหตุการณ์ช่วงนี้แหละ แต่ซามูไรคนสุดท้ายตัวจริงเป็นคนญี่ปุ่น ชื่อ ไซโก ทาคาโมริ นะครับ
ยุคไทโช
ยุคไทโช ค.ศ. 1912-1926 --> ยุคนี้ตรงกับสงครามโลกครั้งที่ 1 และรัชกาลที่ 6 ของสยามประเทศ ครั้งนี้ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรและได้รับชัยชนะในที่สุด
ยุคโชวะ
ยุคโชวะ ค.ศ. 1926-1989 --> ยุคนี้คนไทยก็รู้จักเป็นอย่างดี เพราะเป็นยุคที่คุ้นหูมากที่สุดยุคหนึ่งทั้งในการ์ตูน หนังสือและสื่อต่างๆ ตลอดจนเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยครับ โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโต้ครองบัลลังก์ ยุคก่อนสงครามจะปะทุญี่ปุ่นเจริญก้าวหน้ามากนะครับ มีเรือรบ เรือบรรทุกเครื่องบิน เครื่องบินรบ แถมมีเรือดำน้ำและอาวุธต่างๆที่่ทันสมัยมากๆ แถมมีรถใต้ดินสายแรกในประเทศเมื่อปี 1927 ด้วยซ้ำ! (สร้างก่อนหน้าประเทศไทย 77 ปี)และแม้ว่าญี่ปุ่นจะพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 แบบราบคาบ แต่จิตวิญญาณของคนญี่ปุ่นสุดยอดมาก ทำให้ประเทศผงาดเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจได้ในช่วงปลายปี 80s ในที่สุด การ์ตูนโดราเอมอนก็เกิดในยุคนี้นะครับ ตีพิมพ์เมื่อปี 1969
ยุคเฮเซย์
ยุคเฮย์เซย์ ค.ศ. 1989-ปัจจุบัน --> สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดา และคงไม่ต้องบอกอะไรมากเพราะนี่คือทุกวันนี้ของญี่ปุ่นนั่น นอกจากเหตุการณ์สำคัญเมื่อปี 2011 ที่เกิด Tsunami แถวโทโฮขุจนทำให้เกิดวิกฤตรังสีรั่วไหลที่โรงงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ ที่น่าจะส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องแก้ปัญหาไปอีกนานพอสมควร พร้อมกับพิษเศรษฐกิจที่กำลังส่งผลในปัจจุบัน
วัดคิงงะกุจิ
ในเมืองเกียวโต ซึ่งอาจจะเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดของญี่ปุ่น เป็นที่พำนักของโชกุนในยุคมุโระมะจิ
ในเมืองเกียวโต ซึ่งอาจจะเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดของญี่ปุ่น เป็นที่พำนักของโชกุนในยุคมุโระมะจิ
ระหว่างปี พ.ศ. 1337 จนถึง ปี พ.ศ. 1728 ซึ่งเป็น ยุคเฮอัง นั้น ถือได้ว่าเป็นยุคทองของญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นยุคสมัยที่เริ่มมีการปรากฏของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ซึ่งเกิดจากการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมจีน และของตนเอง สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดมากที่สุดคือ การประดิษฐ์ตัวอักษร ฮิรางานะ ซึ่งทำให้เกิดวรรณกรรมที่แต่งโดยตัวอักษรนี้เป็นจำนวนมาก เช่นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 มุระซะกิ ชิกิบุ สาวใช้ชาววัง ได้แต่งนวนิยายเรื่อง นิทานเกนจิหรือตำนานเกนจิขึ้นซึ่งเป็นนิยายที่บรรยายเกี่ยวกับการใช้ชีวิตการปกครองของตระกูลฟุจิวะระนอกจากนั้นนวนิยายเรื่องนี้ยังเป็นนวนิยายที่เก่าแก่รองจากนวนิยายสามอาณาจักร(เกาหลี)ที่ยังมีให้เห็นในโลกอยู่อีกด้วย
เกียวโต (Kyoto)
นครแห่งนี้เป็นเมืองหลวงและที่ประทับของจักรพรรดิญี่ปุ่นมาเกือบ 1,100ปีจำลองแบบจากนครฉางอันเป็นเมืองหลวงของจีนในสมัย ราชวงศ์ถัง ปัจจุบันคือเมืองซีอานโดยผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีถนนตัดกันเป็นรูปตารางและยังคงปรากฎหลักฐานมาจนถึงปัจจุบันเกียวโตคือสัญญลักษณ์
ความเป็นประเพณีนิยมของญี่ปุ่นเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่เก็บรักษาศิลปวัฒนธรรมของญี่ปุ่นไว้ เป็นเมืองใหญ่อันดับ 7 ของญี่ปุ่น มีจำนวนประชากร 1,400,000 คน
สถานที่สำคัญ
ศาลเจ้าเฮอันจิงงุ
สร้างขึ้นในปี 1895 เพื่อเป็นอนุสรณ์ครบรอบปีที่ 1100 ของเกียวโต โดยอุทิศถวายแด่สมเด็จพระจักรพรรดิองค์แรกและองค์สุดท้ายของนครแห่งนี้ แบบจำลองมาจากพระราชวังอิมพีเรียลองค์เดิม มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบสมัยเฮอัน ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากจีนสูงที่สุด
วัดคิโยมิซึ มีวิหารใหญ่ตั้งอยู่บนไหล่เขา รองรับด้วยเสาไม้มหึมา โดยระเบียงอันเป็นเวทีร่ายรำนั้นยื่นชะโงกเหนือหุบเหว วัดนี้มีอายุเก่าแก่กว่านครเกียวโต สร้างในปี ค.ศ. 788 ถวายแด่พระโพธิสัตว์กวนอิม 11 พักตร์ ด้านหลังวิหารใหญ่คือศาลเจ้าจิชู ซี่งเป็นศาลที่รู้จักกันดีที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นที่ประทับของเทพเจ้าแห่งความรักและความราบรื่นในชีวิตสมรสที่ศาลเจ้านี้มีหินตาบอด ซึ่งห้ามเดินข้ามแต่ ถ้าสาวๆจะเดินผ่านก้อนหินที่ขนาบสองข้างนั้นต้องหลับตา เชื่อกันว่าถ้าสามารถเดินท่องชื่อคนรักในใจไปได้ไกลถึง 20 เมตรแล้ว
ศาลเจ้ายาซากะจินจะหรือมีอีกชื่อว่า งิอนซัง เนื่องจากอยู่ใกล้ย่านงิอน มีซุ้มประตูสร้างด้วยหินแกรนิตสูง 9 เมตร จัดเป็นซุ้มประตูที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น ทางด้านหลังของศาลมีทางออกสู่สวนสาธารณะมารุยามะโคเอ็น ความงามของสวนและความตระการตาของซากุระช่วงต้นเมษายนของที่นี่เป็นที่รู้จักกันดี
วัดนันเซนจิ ซึ่งเป็นวัดเซนที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในเกียวโตด้วย ภายในอารามประกอบด้วยโบสถ์กลาง และโบสถ์เล็ก 12 แห่ง โดยเปิดให้เข้าชมเพียง 4 แห่ง ภายในวัดคุณก็จะสัมผัสได้ถึงปรัชญาแห่งเซน เนื่องจากความกลมกลืนของหมู่สนกับสถาปัตยกรรม วัด ศิลปะการจัดสวนอย่างลงตัว สิ่งเหล่านี้โน้มใจผู้มองให้คล้อยตาม
วัดงิงคะคูจิ หรือวัดศาลาเงิน ซึ่งสร้างในปี 1489 โดยโชกุนอาชิคางะเอระ ชั้นแรกของวิหารใช้เป็นที่อยู่อาศัย มีลักษณะแบบชินเด็น ส่วนชั้นที่สองเป็นห้องบูชา เป็นพุทธศิบป์แบบจีนภายในสวนมีเนินหินสีขาวสร้างขึ้นเพื่อให้จันทร์สะท้อนแสงอาบไล้ทั่วบริเวณตรงปีกตะวันออกเฉียงเหนือของวิหารก็จะได้พบกับห้องชงชาโบราณซึ่งจัดว่าเก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น
วัดคินคะคุจิ ซึ่งรู้จักกันดีที่สุดในเกียวโต วิหารหุ้มด้วยทองคำมี 3 ชั้น โดยชั้นแรกมีลักษณะเป็นพระราชวัง ชั้นที่สองเป็นแบบบ้านซามูไร ส่วนชั้นที่สามเป็นแบบวัดเซน วัดแห่งนี้ล้อมรอบด้วยสระน้ำกว้างใหญ่ โอบล้อมด้วยแมกไม้จึงมีทัศนียภาพที่งดงามยิ่ง
ย่านเก่างิอน เป็นย่านเริงรมย์หรือถิ่นเกอิชาชื่อกระฉ่อนของเกียวโต ในเกียวโตเรียกเกอิชาว่า "ไมโกะหรือเกโกะ"สมัยโบราณคำว่าเกอิชาในเมืองเกียวโตหมายถึงผู้ให้ความบันเทิงซึ่งเป็นชายแต่แต่งกาย เป็นหญิง แต่ในเมืองโตเกียวและโอซาก้าคำนี้หมายถึงผู้ให้ความบันเทิงที่เป็น หญิง ไมโกะเป็นเด็กรุ่นสาวอายุราว 16 ปี ตรงเอวรัดผ้าแถบยาวเรียก โอบิ อันเป็นลักษณะเฉพาะ พออายุได้ 21 ปี ก็ขยับฐานะไปเป็นเกโกะ แต่งชุดกิโมโนประดับประดาเต็มที่
|
ปราสาทฮิเมจิ
ปราสาทฮิเมจิเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์ของปราสาทญี่ปุ่น ด้วยมีลักษณะสถาปัตยกรรมและยุทโธปกรณ์ครบตามแบบของปราสาทญี่ปุ่น ทั้งฐานหินสูง กำแพงสีขาว และอาคารต่างๆในบริเวณปราสาทถือได้ว่าเป็นมาตรฐานตามแบบของปราสาทญี่ปุ่น และรอบๆปราสาทยังมีเครื่องป้องกันอีกมากมาย เช่น ช่องใส่ปืนใหญ่ รูสำหรับโยนหินออกนอกปราสาท
จุดเด่นของปราสาทอย่างหนึ่งคือ ทางเดินสู่อาคารหลักซึ่งสลับซับซ้อนราวกับเขาวงกต ทั้งประตูและกำแพงต่างๆในปราสาทได้รับการออกแบบมาอย่างดีเพื่อป้องกันศัตรูไม่ให้บุกรุกเข้าถึงโดยง่าย โดยทางเดินมีลักษณะเป็นวงก้นหอยรอบๆอาคารหลัก และระหว่างทางก็จะพบทางตันอีกมากมาย ระหว่างที่ศัตรูกำลังหลงทางอยู่นี้ก็จะถูกโจมตีจากข้างบนอาคารหลักได้โดยสะดวก แต่อย่างไรก็ตาม ปราสาทฮิเมจิก็ยังไม่เคยถูกโจมตีในลักษณะนี้เลย ระบบการป้องกันต่างๆจึงยังไม่เคยถูกใช้งาน
การแต่งกาย
คำว่า กิโมโน (kimono) ถ้าแปลตามตัวแล้วหมายถึง เสื้อผ้า ถือได้ว่าเป็นชุดประจำชาติของญี่ปุ่น สามารถสวมใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง มีลักษณะพิเศษตรงที่ชายเสื้อจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีผ้าแพรพันสะเอว (obi) ต่างกับชุดที่เป็นเสื้อผ้าของตะวันตก (yofuku) อย่างชัดเจน
ผู้ที่สวมกิโมโนในชีวิตประจำวันจะมีเพียงผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับศิลปะญี่ปุ่นแต่โบราณเท่านั้น หรือสวมใส่เฉพาะงานพิธีการต่างๆ
ตั้งแต่สมัยเฮอัน หรือ ค.ศ. 794-1192(ประมาณ พ.ศ. 1337-1735) ก่อนหน้านั้นซึ่งเป็นสมัยนารา(ค.ศ. 710-794) ชาวญี่ปุ่นนิยมแต่งชุดท่อนบนกับท่อนล่างเหมือนกันหรือไม่ก็เป็นผ้าชิ้นเดียวกันไปเลย พอมาถึงสมัยเฮอันซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นการใส่กิโมโน ชาวญี่ปุ่นพัฒนาเทคนิคการตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยการตัดผ้าเป็นเส้นตรง เพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส่ อีกทั้งยังเป็นที่เหมาะกับทุกสภาพอากาศ ถ้าฤดูหนาวใช้ผ้าหนา ถ้าฤดูร้อนใช้ผ้าบางๆความสะดวกสบายนี้ทำให้ชุดกิโมโนแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ผู้ตัดเย็บจะคิดค้นหาวิธีที่ทำให้ชุดกิโมโนมีสีสันผสมผสานกันด้วยสีต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ
ต่อมาในยุคเอโดะ(ค.ศ. 1600-1868) ในช่วงนี้นักรบซามูไรแต่ละสำนักแต่งตัวแบ่งแยกตามกลุ่มของตัวเอง เรียกว่า ชุดเครื่องแบบ ชุดที่ใส่นี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือชุดกิโมโน ชุดคามิชิโมตัดเย็บด้วยผ้าลินินใส่คลุมชุดกิโมโนเพื่อให้ไหล่ดูตั้ง กางเกงขายาวที่ดูเหมือนชุดกระโปรงแยกชิ้นชุดกิโมโนของซามูไรจำเป็นต้องเนี๊ยบมากนับเป็นผลงานศิลปะอีกชิ้นหนึ่ง
สมัยต่อมาในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868- 1912) ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากชาวต่างชาติจึงเริ่มเปลี่ยนไปใส่ชุดสากลมากขึ้น และจะใส่ชุดกิโมโนที่เป็นงานพิธีการเท่านั้น
คำว่า กิโมโน (kimono) ถ้าแปลตามตัวแล้วหมายถึง เสื้อผ้า ถือได้ว่าเป็นชุดประจำชาติของญี่ปุ่น สามารถสวมใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง มีลักษณะพิเศษตรงที่ชายเสื้อจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีผ้าแพรพันสะเอว (obi) ต่างกับชุดที่เป็นเสื้อผ้าของตะวันตก (yofuku) อย่างชัดเจน
ผู้ที่สวมกิโมโนในชีวิตประจำวันจะมีเพียงผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับศิลปะญี่ปุ่นแต่โบราณเท่านั้น หรือสวมใส่เฉพาะงานพิธีการต่างๆ
ตั้งแต่สมัยเฮอัน หรือ ค.ศ. 794-1192(ประมาณ พ.ศ. 1337-1735) ก่อนหน้านั้นซึ่งเป็นสมัยนารา(ค.ศ. 710-794) ชาวญี่ปุ่นนิยมแต่งชุดท่อนบนกับท่อนล่างเหมือนกันหรือไม่ก็เป็นผ้าชิ้นเดียวกันไปเลย พอมาถึงสมัยเฮอันซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นการใส่กิโมโน ชาวญี่ปุ่นพัฒนาเทคนิคการตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยการตัดผ้าเป็นเส้นตรง เพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส่ อีกทั้งยังเป็นที่เหมาะกับทุกสภาพอากาศ ถ้าฤดูหนาวใช้ผ้าหนา ถ้าฤดูร้อนใช้ผ้าบางๆความสะดวกสบายนี้ทำให้ชุดกิโมโนแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ผู้ตัดเย็บจะคิดค้นหาวิธีที่ทำให้ชุดกิโมโนมีสีสันผสมผสานกันด้วยสีต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ
ต่อมาในยุคเอโดะ(ค.ศ. 1600-1868) ในช่วงนี้นักรบซามูไรแต่ละสำนักแต่งตัวแบ่งแยกตามกลุ่มของตัวเอง เรียกว่า ชุดเครื่องแบบ ชุดที่ใส่นี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือชุดกิโมโน ชุดคามิชิโมตัดเย็บด้วยผ้าลินินใส่คลุมชุดกิโมโนเพื่อให้ไหล่ดูตั้ง กางเกงขายาวที่ดูเหมือนชุดกระโปรงแยกชิ้นชุดกิโมโนของซามูไรจำเป็นต้องเนี๊ยบมากนับเป็นผลงานศิลปะอีกชิ้นหนึ่ง
สมัยต่อมาในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868- 1912) ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากชาวต่างชาติจึงเริ่มเปลี่ยนไปใส่ชุดสากลมากขึ้น และจะใส่ชุดกิโมโนที่เป็นงานพิธีการเท่านั้น
ประวัติของละครญี่ปุ่นเริ่มต้นประมาณศตวรรษที่7แบบแผนการแสดงต่างๆที่ปรากฏอยู่ในครั้งยังมีเหลืออยู่ และปรากฏชัดเจนแสดงสมัยปัจจุบันนี้ ได้แก่ ละครโนะ ละครคาบูกิ ปูงักกุ ละครหุ่นบุนระกุ การกำเนิดของละครญี่ปุ่น กล่าวกันว่ามีกำเนิดมาจากพื้นเมืองเป็นปฐม กล่าวคือวิวัฒนาการมาจากการแสดง ระบำบูชาเทพเจ้าแห่งภูเขาไฟและต่อมาญี่ปุ่นได้รับแบบแผนการแสดงมาจากประเทศจีนโดยได้รับผ่านประเทศ เกาหลีช่วงหนึ่ง
1.ละครโนะ
เป็นละครแบบโบราณมีกฎเกณฑ์และระเบียบแบบแผนในการแสดงมากมาย ในปัจจุบันถือเป็นศิลปะชั้น สูงประจำชาติของญี่ปุ่นที่ได้รับการอนุรักษ์เอาไว้ละครโนะเกิดขึ้นมาช้านานแล้วแต่เริ่มมาเฟื่องฟูในครึ่งหลังของศตวรรษที่14โดยมีคันอามิกับเซอามิสองพ่อลูกเป็นผู้วางรากฐานของการแสดงละครโนะอันเป็นแบบฉบับมาจนถึงปัจจุบันนี้ ในปี พ.ศ.2473 วงการละครโนะของญี่ปุ่นได้มีการเคลื่อนไหวที่จะทำให้ละครประเภทนี้ทันสมัยขึ้น โดยจุดประสงค์เพื่อประยุกต์การเขียนบทละครใหม่ๆ ที่มีเนื้อเรื่องเป็นปัจจุบันและใช้ภาษาสมัยใหม่รวมทั้งให้ผู้แสดงสวมเสื้อผ้าแบบสมัยนิยมด้วย นอกจากนี้ยังมีสิ่งใหม่ๆที่นำมาเพิ่มเติมด้วยเช่น ให้มีการร้องอุปรากร การเล่นดนตรีราชสำนักงะงักกุและการใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ซึ่งละครแบบประยุกต์ใหม่นี้เรียกว่า "ชินชากุโน"
2.ละครคาบูกิ
เป็นละครอีกแบบหนึ่งของญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมมากกว่าละครโน้ะ มีลักษณะเป็นการเชื่อมประสานความบันเทิงจากมหรสพของยุคเก่าเข้ากับยุคปัจจุบันคำว่า “คาบูกิ” หมายถึง การผสมผสาน ระหว่างโอเปร่า บัลเล่ต์ และละคร ซึ่งมีทั้งการร้อง การรำ และการแสดงละคร
3.บูงักกุ
ลักษณะการแสดงเป็นการแสดงที่มีลักษณะเป็นการร่ายรำที่แตกต่างจากการร่ายรำของญี่ปุ่น แบบอื่น คือ 1) บูงักกุ จะเน้นไปในทางร่ายรำล้วนๆ มากกว่าที่จะเน้นเนื้อหาของบทละคร ซึ่งถือว่ามีความสำคัญน้อย กว่าการร่ายรำ
2) ท่ารำบูงักกุ จะเน้นส่วนสัดอันกลมกลืน ไม่เฉพาะในการรำคู่ แม้ในการรำเดี่ยวก็มีหลักเกณฑ์แบบ เดียวกัน
4.ละครหุ่นบุระกุ
การแสดงละครหุ่นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น เป็นศิลปะชั้นสูงที่ประเทศญี่ปุ่นภาคภูมิใจ บุนรากุ เดิมเป็น ชื่อของโรงละครที่จัดแสดงละครหุ่น แต่ได้กลายเป็นชื่อของการแสดงศิลปะแขนงนี้และใช้อยู่จนทุกวันนี้ บุนรากุกลายเป็นที่รู้จักประมาณปลายยุคสมัยเมจิ (1868-1962) ก่อนหน้านั้น ศิลปะแขนงนี้เรียกว่า อะยาทซึริ โจรุริ ชิไบ หรือ นิงเกียวโจรุริ หรือการแสดงนิทานหุ่น (ในสมัยโบราณนิยมละครที่ใช้วิธีการเล่าเรื่องเชิงพรรณนาโวหารด้วยบทกวี ไม่ใช้บทพูดเหมือนปัจจุบัน) ปัจจุบัน โจรุริ เป็นชื่อของดนตรีชามิเซ็น (เครื่องดนตรีของญี่ปุ่นที่มีสามสายใช้ดีดมีลักษณะเหมือนกีตาร์หรือเบนโจ) ซึ่งชื่อนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงบทของละครหุ่นที่ใช้แสดงด้วยการร่ายประกอบ ดนตรี (เหมือนการแสดงหุ่นหลวงหรือโขนบ้านเรา) โลกแห่งบุนรากุที่ได้บัญญัติขึ้นมาใหม่นี้ที่ไม่เพียงแต่คุณภาพของการใช้ เทคนิคศิลปะชั้นสูง แต่ด้วยการใช้ดนตรีโจรุริชั้นสูงและเอกลักษณ์ของการเชิดหุ่นที่เป็นธรรมชาติ โดยหุ่นแต่ละตัวจะใช้นักเชิดหุ่น 3 คน ทำให้หุ่นมีชีวิตชีวาขึ้นมา
No comments:
Post a Comment