Friday, January 11, 2019
อารยธรรมจีนในสมัยราชวงศ์ต่างๆ
อารยธรรมจีนในสมัยราชวงศ์ต่างๆ มีดังนี้
ราชวงศ์ชาง ( Shang Dynasty , 1776 – 1,122 ปี ก่อนคริสต์ศักราช )เป็นราชวงศ์แรกของจีน
1.มีการปกครองแบบนครรัฐ
2. มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรก พบจารึกบนกระดองเต่า และกระดูกวัว เรื่องที่จารึกส่วนใหญ่เป็นการทำนายโชคชะตาจึงเรียกว่า “กระดูกเสี่ยงทาย”
3. มีความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ
อักษรจีนจารึกบนกระดองเต่า
ราชวงศ์โจว( Chou Dynasty, 1,122-221 ปี ก่อนคริสต์ศักราช )
1. แนวความคิดด้านการปกครอง เชื่อเรื่องกษัตริย์เป็น “โอรสแห่งสวรรค์ สวรรค์มอบอำนาจให้มาปกครองมนุษย์เรียกว่า “อาณัตแห่งสวรรค์
2. เริ่มต้นยุคศักดินาของจีน
3. เกิดลัทธิขงจื๊อ ที่มีแนวทาง
4. เป็นแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม
5. เน้นความสัมพันธ์และการทำหน้าที่ของผู้คนในสังคม ระหว่างจักรพรรดิกับราษฎร บิดากับบุตร พี่ชายกับน้องชาย สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน
6. เน้นความกตัญญู เคารพผู้อาวุโส ให้ความสำคัญกับครอบครัว
7. เน้นความสำคัญของการศึกษา
8. เกิดลัทธิเต๋า โดยเล่าจื๊อ ที่มีแนวทาง
9. เน้นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ต้องมีระเบียบแบบแผนพิธีรีตองใดใด
10. เน้นปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ
11. ลัทธินี้มีอิทธิพลต่อศิลปิน กวี และจิตรกรจีน
12. คำสอนทั้งสองลัทธิเป็นที่พึ่งทางใจของผู้คน
ราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน( Chin Dynasty , 221-206 ปี ก่อนคริสต์ศักราช )
- จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่สามารถรวมดินแดนของจีนให้เป็นจักรวรรดิ เป็นครั้งแรกคือ พระเจ้าชิวั่งตี่ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นผู้ให้สร้าง กำแพงเมืองจีน
- มีการใช้เหรียญกษาปณ์ มาตราชั่ง ตวง วัด

กำแพงเมืองจีน
ราชวงศ์ฮั่น( Han Dynasty , 206 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง ค.ศ.220 )
- เป็นยุคทองด้านการค้าของจีน มีการค้าขายกับอาณาจักรโรมัน อาหรับ และอินเดีย โดยเส้นทางการค้าที่เรียกว่า เส้นทางสายไหม( Silk Rood )
- ลัทธิขงจื้อ คำสอนถูกนำมาใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ
- มีการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเรียกว่า จอหงวน

เส้นทางสายไหม
ราชวงศ์สุย( Sui Dynasty , ค.ศ.589 – 618 )
- เป็นยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก
- มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม
ราชวงศ์ถัง( Tang Dynasty , ค.ศ. 618-907 )
- ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน นครฉางอานเป็นศูนย์กลางของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้น
- พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระภิกษุ (ถังซำจั๋ง) เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎก ในชมพูทวีป
- เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้
- ศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง
ราชวงศ์ซ้อง( Sung Dynasty , ค.ศ. 960 – 1279 )
- มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภา
- รู้จักการใช้เข็มทิศ
- รู้จักการใช้ลูกคิด
- ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ
- รักษาโรคด้วยการฝังเข็ม
ราชวงศ์หยวน( Yuan Dynasty , ค.ศ. 1279-1368 )
- เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน ฮ่องเต้องค์แรกคือ กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้
- ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเมืองเวนีส อิตาลี
ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง( Ming Dynasty , ค.ศ. 1368-1644 )
- วรรณกรรม นิยมการเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่าการใช้ภาษาเขียน มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สามก๊ก ไซอิ๋ว
- ส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล
- สร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (วังต้องห้าม)
ราชวงศ์ชิงหรือเช็ง( Ching Dynasty ค.ศ. 1644-1912 )
- เป็นราชวงศ์เผ่าแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน
- เริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง
- ปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารประเทศมาก
ราชวงศ์ชาง ( Shang Dynasty , 1776 – 1,122 ปี ก่อนคริสต์ศักราช )เป็นราชวงศ์แรกของจีน
1.มีการปกครองแบบนครรัฐ
2. มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรก พบจารึกบนกระดองเต่า และกระดูกวัว เรื่องที่จารึกส่วนใหญ่เป็นการทำนายโชคชะตาจึงเรียกว่า “กระดูกเสี่ยงทาย”
3. มีความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ

ราชวงศ์โจว( Chou Dynasty, 1,122-221 ปี ก่อนคริสต์ศักราช )
1. แนวความคิดด้านการปกครอง เชื่อเรื่องกษัตริย์เป็น “โอรสแห่งสวรรค์ สวรรค์มอบอำนาจให้มาปกครองมนุษย์เรียกว่า “อาณัตแห่งสวรรค์
2. เริ่มต้นยุคศักดินาของจีน
3. เกิดลัทธิขงจื๊อ ที่มีแนวทาง
4. เป็นแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม
5. เน้นความสัมพันธ์และการทำหน้าที่ของผู้คนในสังคม ระหว่างจักรพรรดิกับราษฎร บิดากับบุตร พี่ชายกับน้องชาย สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน
6. เน้นความกตัญญู เคารพผู้อาวุโส ให้ความสำคัญกับครอบครัว
7. เน้นความสำคัญของการศึกษา
8. เกิดลัทธิเต๋า โดยเล่าจื๊อ ที่มีแนวทาง
9. เน้นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ต้องมีระเบียบแบบแผนพิธีรีตองใดใด
10. เน้นปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ
11. ลัทธินี้มีอิทธิพลต่อศิลปิน กวี และจิตรกรจีน
12. คำสอนทั้งสองลัทธิเป็นที่พึ่งทางใจของผู้คน
ราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน( Chin Dynasty , 221-206 ปี ก่อนคริสต์ศักราช )
- จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่สามารถรวมดินแดนของจีนให้เป็นจักรวรรดิ เป็นครั้งแรกคือ พระเจ้าชิวั่งตี่ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นผู้ให้สร้าง กำแพงเมืองจีน
- มีการใช้เหรียญกษาปณ์ มาตราชั่ง ตวง วัด

กำแพงเมืองจีน
ราชวงศ์ฮั่น( Han Dynasty , 206 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง ค.ศ.220 )
- เป็นยุคทองด้านการค้าของจีน มีการค้าขายกับอาณาจักรโรมัน อาหรับ และอินเดีย โดยเส้นทางการค้าที่เรียกว่า เส้นทางสายไหม( Silk Rood )
- ลัทธิขงจื้อ คำสอนถูกนำมาใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ
- มีการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเรียกว่า จอหงวน

เส้นทางสายไหม
ราชวงศ์สุย( Sui Dynasty , ค.ศ.589 – 618 )
- เป็นยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก
- มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม
ราชวงศ์ถัง( Tang Dynasty , ค.ศ. 618-907 )
- ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน นครฉางอานเป็นศูนย์กลางของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้น
- พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระภิกษุ (ถังซำจั๋ง) เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎก ในชมพูทวีป
- เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้
- ศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง
ราชวงศ์ซ้อง( Sung Dynasty , ค.ศ. 960 – 1279 )
- มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภา
- รู้จักการใช้เข็มทิศ
- รู้จักการใช้ลูกคิด
- ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ
- รักษาโรคด้วยการฝังเข็ม
ราชวงศ์หยวน( Yuan Dynasty , ค.ศ. 1279-1368 )
- เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน ฮ่องเต้องค์แรกคือ กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้
- ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเมืองเวนีส อิตาลี
ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง( Ming Dynasty , ค.ศ. 1368-1644 )
- วรรณกรรม นิยมการเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่าการใช้ภาษาเขียน มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สามก๊ก ไซอิ๋ว
- ส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล
- สร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (วังต้องห้าม)
ราชวงศ์ชิงหรือเช็ง( Ching Dynasty ค.ศ. 1644-1912 )
- เป็นราชวงศ์เผ่าแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน
- เริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง
- ปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารประเทศมาก
Sunday, January 6, 2019
อารยธรรมทาจิกิสถาน
ทาจิกิสถานได้ได้รับเอกราชในปีค.ศ. 1990 ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต แต่ในช่วงแรก การเมืองภายในประเทศขาดเสถียรภาพเนื่องจากเกิดความขัดแย้งภายในอย่างรุนแรงระหว่างกลุ่มชาตินิยม กลุ่ม Neo-communist และกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง และมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว 60,000 คน ต่อมากลุ่มอิสลามหัวรุนแรงได้อพยพออกนอกประเทศพร้อมด้วยประชาชนหลายหมื่นคน ไปตั้งมั่นอยู่ทางภาคเหนือของอัฟกานิสถาน และกลับเข้ามาปฏิบัติการแบบกองโจรในทาจิกิสถาน ทำให้รัฐบาลทาจิกิสถานต้องพึ่งกองกำลังรัสเซียดูแลแนวชายแดนทาจิกิสถาน-อัฟกานิสถาน และมีการสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี จนในปี 1997 จึงมีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างประธานาธิบดี Emomali Rahmonov กับนาย Sayed Abdulla Nuri ผู้นำกลุ่มแนวร่วมต่อต้านรัฐบาล (United Tajik Opposition - UTO)
อาหารพื้นเมืองของชาว
วัฒนธรรมการรับประทานอาหารของชาวทาจิกจะเริ่มด้วยผลไม้และถั่วต่าง ๆ จากนั้นทานซุป ต่อด้วยเนื้อสัตว์ และจบท้ายด้วย Palov ซึ่งเป็นข้าวผัดผสมชิ้นเนื้อ, แครอทและหัวหอมหั่นฝอย อาหารที่แนะนำสำหรับสาธารณรัฐทาจิกิสถาน คือ Kurtab ซึ่งเป็นแผ่นแป้งผสมโยเกิร์ต, มะเขือเทศ และหัวหอม อาหารชนิดต่อมา คือ Nahud Sambusa หรือ Chickpea samasas เป็นแป้งทอดยัดไส้ด้วยถั่วซิกพีและมะเขือเทศ ชาวทาจิกิสถานชอบดื่มชาและจะให้ชากับแขกที่มาเยือนเพื่อแสดงถึงการต้อนรับ
Nahud Sambusa Kurtab
อาหารและวัฒนธรรมในการรับประทาน นอกจากจะสะท้อนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์แล้ว ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมและค่านิยมของคนในชาติ ชาวเอเชียกลางจะให้ความสำคัญกับ การต้อนรับแขกผู้มาเยือนและผู้อาวุโสเป็นอย่างมาก แขกผู้มาเยือนจะได้รับการต้อนรับด้วยของว่างและเครื่องดื่มเสมอ โดยเฉพาะชา ซึ่งอาจเป็นชาเขียวหรือชาดำ และวอดก้า เพื่อบรรเทาความหนาวเย็น โดยหากถึงเวลารับประทานอาหาร แขกจะได้รับเชิญให้ร่วมรับประทานอาหารพร้อมเจ้าของบ้าน โดยนั่งรับล้อมวงรับประทานอาหารที่โต๊ะเตี้ย ๆ หรือไม่ก็นั่งที่พื้นโดยมีหมอนพิงข้างหลัง และจะใช้มือรับประทานอาหาร โดยแขกผู้มีเกียรติสูงสุดจะได้รับเชิญให้รับประทานอาหารเป็นคนแรก
วัฒนธรรมของทาจิกิสถาน
ประเพณีวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ในทาจิกิสถานมีรากที่มีอายุหลายศตวรรษ ในแผ่นดินนี้อาศัยอยู่ที่ความหลากหลายของประชาชนและประเทศซึ่งแต่ละได้ทิ้งร่องรอยเกี่ยวกับวัฒนธรรมของทาจิกิสถาน บางอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมที่มีความนิยมอย่างสูงจากผู้เชี่ยวชาญและการตั้งถิ่นฐานโบราณ Sarazm ยูเนสโกได้จัดรายการมรดกทางวัฒนธรรมของโลก Sarazm ก่อตั้งขึ้นอย่างน้อยสองพันปีBC แม้ว่านักประวัติศาสตร์บางคนมีแนวโน้มที่จะเชื่อว่าคนกลุ่มแรกที่ตั้งรกรากที่นี่หกพันปีที่ผ่านมา อาคารทางศาสนาและพระราชวังบ้านและอาคารสาธารณะ Sarazm เก็บรักษาไว้อย่างดีและให้ความคิดของวิธีการที่คนโบราณที่อาศัยอยู่ในสถานที่เหล่านี้
ชะตากรรม Dari
ภาษาโบราณของ Dari ซึ่งเป็นเวลาหลายศตวรรษกล่าวว่าชาวบ้านในท้องถิ่น - เป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมของทาจิกิสถาน เขาเกือบจะถูกทำลายโดยพิชิตอาหรับ แต่รักชาติจริงเก็บไว้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาและอนุญาตให้เขาที่จะเกิดใหม่ Dari ชิ้นเอกจริงถูกเขียนในวรรณกรรมคลาสสิกทาจิกิสถาน, เพลงพื้นบ้านและแม้กระทั่งผลงานทางวิชาการ การพิจารณาคดีใน IX-X ศตวรรษราชวงศ์ของ Samanids ไม่โดยเฉพาะการรวมที่ดินทั้งหมดใน Tajiks แต่ยังส่งเสริมการพัฒนาของวัฒนธรรมในทาจิกิสถาน ในช่วงปีนี้ในมัสยิดที่สร้างขึ้นที่ดีที่สุดที่ถูกสร้างขึ้นพระราชวังสุสานบ้านสำหรับไฮโซ
เส้นทางเดินป่า
เพื่อทำความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมของทาจิกิสถานก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะผ่านในเส้นทางคาราวานโบราณซึ่งครั้งหนึ่งเคยวิ่งเส้นทางสายไหมที่ดี ถนนสายเก่าที่เชื่อมระหว่างตะวันออกกับตะวันตกและมากที่สุด สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของมันเป็นเมืองที่ตอนนี้อายุ Khujand และ Kulyab, Khorog และ Kurgan-Tube ในเมือง Panjakent นักโบราณคดีค้นพบการตั้งถิ่นฐานของศตวรรษที่วี, การขุดเจาะได้รับอนุญาตให้เปิดการก่อตัวใหม่ในประวัติศาสตร์ของทาจิกิสถาน เก็บรักษาไว้อย่างสมบูรณ์แบบอนุสาวรีย์ของศตวรรษที่สิบมูฮัมหมัด Bashoro สุสานสร้างขึ้นโดยผู้สร้างในหุบเขาใกล้ภูเขาช่วง Zarafshan
อารยธรรมเติร์กเมนิสถาน
เติร์กเมนิสถานเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะที่บริเวณรอบทะเลสาบแคสเปียนนั้น อุดมไปด้วยน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งรัฐบาลเติร์กเมนิสถาน ได้มีความพยายามที่จะสร้างท่อส่งก๊าซไปยังตุรกี แต่บริษัทของอเมริกาไม่พอใจ เพราะต้องผ่านอิหร่านก่อน
วิถีชีวิต และวัฒนธรรม
นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ชาวเติร์กเมนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ในสภาพภูมิประเทศที่แห้งแล้ง เป็นชนชาติที่ไม่ชอบความรุนแรง และยังคงยึดถือธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ซึ่งเป็นลักษณะวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม
การแต่งกาย
ชาวเติร์กเมนยังคงรักษาการแต่งกายตั้งเดิมเอาไว้คือ ผุ้ชายสวมกางเกงขายาวหลวมๆ สีน้ำเงิน สวมร้องเท้าบูททับขากางเกง สวมเสื้อเชิ้ตสีขาว ทับด้วยเสื้อคลุมไหมสีแดงมีแถบสีทอง สวมหมวกขนสัตว์ ชุดผู้หญิงเป็นกระโปรงยาวคลุมข้อเท้าสีแดง ประดับด้วยแผ่นเงิน หรือโลหะสวมกางเกงขายาวด้านใน ผูกผมไว้ด้านหลัง และคลุมศีรษะด้วยผ้า
อาหารพื้นเมืองที่น่าสนใจของชาวเติร์ก คือ Manti เป็นแป้งสอดใส่ด้วยเนื้อบดผสมหัวหอมและฟักทอง แล้วนำไปนึ่ง ส่วนขนมปังที่บริโภคกันอย่างแพร่หลาย คือ Chorek ซึ่งเป็น ขนมปังอบในโอ่ง (อบโดยแปะไว้ในโอ่ง ที่เป็นเตา) ส่วนเครื่องดื่มที่ขึ้นชื่อ คือ นมอูฐหมัก หรือ Chal โดยจะมีรสชาติ ออกเปรี้ยว ซึ่งเครื่องดื่มชนิดนี้นอกจากเป็นที่นิยมของชาวเติร์กแล้ว ยังเป็นที่ชื่นชอบของชาวคาซัคด้วยเช่นกัน นอกจากนั้น ชาวเติร์กนิยมดื่มชาเขียว และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ เช่น วอดก้า เนื่องจากหาได้ทั่วไปและมีราคาถูก
ที่อยู่อาศัย
ชาวเติร์กเมนใช้ชีวิตเรียบง่านในกระโจมที่ทำด้วยโครงไม้ คลุมด้วยต้นกก ต้นอ้อ และสักหลาด โดยมีพรมเพียงไม่กี่ผืนเป็นเฟอร์นิเจอร์ พรมนอกจากใช้งานเพื่อปูพื้นแล้ว ยังนำมาประดับตกแต่งแขวนไว้ตามผนัง โดยพรมนับเป็นหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของเติร์กเมนิสถาน ปัจจุบันการผลิตพรมโดยมาก มักผลิตเพื่อการค้า
ศิลปกรรม
ลักษณะงานศิลปกรรมมีทั้งที่เป็นศิลปกรรมในศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ สถาปัตยกรรมอิสลามเน้นที่มีซุ่มประตูสูงใหญ่ ทรงสี่เหลี่ยม เจาะช่องทางเข้าเป็นซุ่มโค้งปลายแหลมขึ้น ประดับตกแต่ง ด้วยกระเบื้องสี หรือเขียนลวดลายด้วยสี สถาปัตยกรรมในสาสนาคริสต์เป็นอาคารสูงเพรียว มียอดแหลมสูง อาจมีหลายยอด ตกแต่งอย่างสวยงามในรายละเอียดต่างๆ
เทศกาล และประเพณี
ส่วนมากเป็นเทศกาลทางศาสนาอิสลามเช่น เทศกาลเฉลิมฉลองฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลรอมฎอน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีประเพณีท้องถิ่นคือ ในเดือนเมษายน มีการฉลองม้า Akilteken มีขบวนพาเหรด และการแข่งม้า ในอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคม เป็นวัน Bakshi เป็นเทศกาลของเพลงพื้นเมือง และอาทิตย์สุดท้ายของเดือนธันวาคม เป็นเทศกาลเก็บเกี่ยว
การแต่ีงกาย
- ผู้ชายสวมชุดสูทที่เรียบง่ายหรือเสื้อแจ็คเก็ต และเนคไทก็เหมาะสมดีแล้ว แต่ในการประชุมพบปะกับหน่วยงานราชการ อาจเลือกชุดสูทที่เป็นทางการขึ้น
|
อารยธรรม เมโสโปเตเมีย
เมโสโปเตเมีย เป็นคำภาษากรีก แปลว่า ที่ระหว่างแม่น้ำ ดินแดนที่ชาวกรีกเรียกว่า เมโสโปเตเมียนี้ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำไทกรีสและยูเฟรตีสเป็นส่วนหนึ่งของ”ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอ่าวเปอร์เซีย
เมโสโปเตเมีย เป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นน้ำจากแม่น้ำที่มาจากหิมะละลาย ในฤดูร้อนบนเทือกเขาในอาร์เมเนีย น้ำจะพัดพา เอาโคลนตม ตะกอนมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำในแม่น้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งก็สร้างความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สินและชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ
ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นเครื่องดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่องบั่นทอนกำลังของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ ซึ่งเมื่ออยู่ไปนานๆเข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไป พวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือและตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอารเบีย เรื่องราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่มมิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์
ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
เมโสโปเตเมียแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยโบราณ คำว่าเมโสโป-เตเมีย เป็นภาษากรีก มีความหมายว่าดินแดนระหว่างแม่น้ำทั้งสอง คือแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และ ยูเฟรตีส (Euphrates) ปัจจุบันคือประเทศอิรัก มีนครหลวงคือกรุงแบกแดด แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์เมเนียและเอเซียไมเนอร์ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่าชินาร์ (Shina) เกิดจากการทับถมของดินตะกอนที่แม่น้ำพัดพามากล่าวคือในฤดูร้อนหิมะบนภูเขาในอาร์เมเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พัดพาเอาโคลนตมมาทับถมไว้ยังบริเวณปากน้ำทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่ง ทุกๆ ศตวรรษ (ประมาณปีละ 29 นิ้วครึ่ง)
อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรดทะเลดำ และทะสาบแคสเบียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบซีเรียและปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่าน
เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซียมีความอุดมสมบูรณ์เรียกว่าบาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าแอสซีเรีย (Assyria) บริเวณทั้งหมดมีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชนชาติใดมีอำนาจ ก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน
นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ไม่มีแห่งหนตำบลใดจะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่นี่และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตกกับตะวันออกตลอดสมัยประวัติศาสตร์
ปัจจัยที่เอื้ออำนวยที่ทำให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
1. ความคิดสร้างสรรค์ในการรักษา ปรับปรุงและสืบทอดในอารยธรรมของกลุ่มชน 6 กลุ่มคือ
1.1 สุเมเรียน (Sumerians)
1.2 อัคคาเดียน (Akkadians)
1.3 อะมอไรท์ (Amorites)
1.4 คัสไซท์ (Kassites)
1.5 อัสซีเรียน (Assyrians)
1.6 แคลเดียน (Chaldeans)
2. แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ทำให้เมโสโปเตเมียชุ่มชื้นเกิดการรวมตัวของกลุ่มชนและกำเนิดอารยธรรมเฉพาะขึ้น
3. พรมแดนธรรมชาติซึ่งมีส่วนช่วยเป็นกำแพงป้องกันศัตรูภายนอก แม้ไม่ดีเท่าแถบลุ่มน้ำไนล์ก็ตาม แต่ก็เอื้ออำนวยให้กลุ่มชนซึ่งผลัดกันขึ้นมีบทบาทในเมโสโปเตเมียสามารถใช้ประโยชน์ของพรมแดนธรรมชาตินี้กำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้น กล่าวคือทิศเหนือจรดเทือกเขาอเมเนียทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซีย ทิศตะวันออกจรดแนวเทือกเขายาว ทิศตะวันตกจรดทะเลทรายอารเบียน
วัฒนธรรมเมโสโปเตเมีย
พัฒนาการวัฒนธรรมสุเมเรียน 2 ระยะ คือ
1.ระยะวัฒนธรรมอูเบด (Ubaid) ประมาณ 4250-3750 B.C. เป็นสมัยเริ่มอารยธรรมคนเมือง (Urban life)
2.ระยะวัฒนธรรมอูรุค (Uruk) ประมาณ 3750-3000 B.C.
– การประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่มบนแผ่นดินเหนียวส่วนใหญ่ใช้ต้นกกหรือไม้เขียนลงบนแผ่นดินเหนียวกดเป็นรูปลิ่มอักษร จึงถูกเรียกชื่อว่า “คูนิฟอร์ม”แล้วนำไปผึ่งแดด หรือเผาไฟให้แห้งแข็ง
– การสร้างผลงานสถาปัตยกรรมเรียกว่า “ซิกกูแรท” เป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายพิรามิดสร้างบนฐานที่ยกระดับจากพื้นดินข้างบนทำเป็นวิหาร ใช้บูชาเทพเจ้า
– มีการใช้อิฐในก่อสร้างและความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ ชาวสุเมเรียนได้สร้างผลงานการก่อสร้างอื่นๆและทำปฏิทินจันทรคติ วันหนึ่งแบ่งเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง กลางคืน 6 ชั่วโมง การนับในหน่วย 60 ซึ่งตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่นการนับ 1 ชั่วโมงมี 60 นาที 1 นาทีมี 60 วินาที วงกลมมี 360 องศา (60 หกครั้ง)
– ประมวลกฏหมายฮัมบูราบีเป็นบทบัญญัติที่รวบรวมกฎหมายต่าง ๆ และพระราชกฤษฎีกาของกษัตริย์ฮัมมูราบี ราชาแห่งบาบิโลเนีย และเป็นประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด ประมวลกฎหมายนี้ถูกคัดลอกไว้โดยการแกะสลักลงบนหินบะซอลต์สีดำสูง 2.25 เมตร ซึ่งต่อมาทีมนักโบราณคดีฝรั่งเศสขุดพบที่ประเทศอิรัก ในช่วงฤดูหนาวปี 1901 ถึง 1902 หินสลักนี้แตกเป็น 3 ชิ้น และได้รับการบูรณะ
– มหากาพย์กิลกาเมชเป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ของบาบิโลน เล่าเรื่องกษัตริย์กิลกาเมชกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ปรากฏในจารึก 12 แท่งด้วยกัน (นักโบราณคดีส่วนมากเชื่อ ว่าจารึกแท่งที่ 12 นี้ถูกแต่งเพิ่มขึ้นในภายหลัง) ซึ่งสอดคล้องกับตำนานของชาวซูเมอร์ มหากาพย์เรื่องนี้จารึกไว้ในแผ่นดินเหนียวในหอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย เมื่อราว ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล
– สวนลอยแห่งบาบิโลนตำนานกล่าวไว้ว่า สวนลอยแห่งบาบิโลนสร้างขึ้นประมาณศตวรรษที่9 ก่อนคริสตกาล โดยคำบัญชาของกษัตริย์”เนบูคัสเนซซาร์”เพื่อเป็นของขวัญแก่ นางอามิธีส ราชินีชาวเปอร์เซียของพระองค์
สวนแห่งนี้สร้างขึ้นในเขตพระราชฐาน มีลักษณะคล้ายปิรามิด โดยสร้างซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ นักประวัติศาสตร์จากซิซิลีที่ชื่อ”ดิโอโดโรส” กล่าวว่า ชาวบาบิโลนใช้อิฐและน้ำมันดินเป็นส่วนประกอบสำคัญในการก่อสร้างและเพื่อให้กันน้ำได้ดีนั้น ชาวเมืองจะใช้หญ้าประเภทอ้อหรือกกผสมน้ำมันดิบปูพื้นชั้นแรก แล้วปูทับด้วยอิฐเผาที่เตรียมไว้ ก่อนจะวางตะกั่วทับลงไปบนชั้นบนสุด หลังจากนั้นจึงลงดินที่มีปริมาณมากพอที่จะปลูกต้นไม้ทุกประเภท นับแต่ไม้พุ่มไปจนถึงไม้ยืนต้น น้ำที่ใช้เลี้ยงต้นไม้ในสวนลอยสูบขึ้นมาจากแม่น้ำยูเฟรติสเบื้องล่างมาตามท่อที่ฝังซ่อนไว้อย่างมิดชิดในแต่ละส่วนของระเบียง ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกที่นี่เขียวชอุ่ม ให้ดอกและผลได้เป็นอย่างดีแม้ในช่ว ที่แล้งที่สุดกลางฤดูร้อนในทะเลทราย
อารยธรรมของไทย
แหล่งอารยธรรมไทย ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (State Party of the World Heritage Convention) เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๐ และเคยได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage Committee) มาแล้ว ๓ ครั้ง คือ ครั้งแรกระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๓๒ – ๒๕๓๘ ครั้งที่สอง ระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๔๐ – ๒๕๔๖ และครั้งล่าสุดระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๕๒ – ๒๕๕๖ปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว ๕ แห่ง ดังนี้
แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
๓ แห่ง
1 อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ
เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ ๑๕ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ ที่เมืองคาร์เท
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออก ๑๒ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ลานตะพัก มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงเมืองสลับกับคูน้ำล้อมรอบ ๓ ชั้น มีแนวเทือกเขาประทักษ์อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ส่วนทางด้านทิศตะวันออกมีคลองแม่ลำพันไหลผ่าน ซึ่งจะไหลไปลงสู่แม่น้ำยมที่อยู่ห่างออกไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตร
ประเทศตูนิเซีย
ที่ตั้งและลักษณะทางกายภาพ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีสัชนาลัย
จังหวัดสุโขทัย มีระยะห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศเหนือประมาณ
๖๐ กิโลเมตร
ตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขาริมแม่น้ำยมทางฝั่งตะวันตก
ลักษณะผังเมืองเป็นรูปหลายเหลี่ยมโค้งตามลำน้ำ มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร
จังหวัดกำแพงเพชร มีระยะห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศใต้ประมาณ ๗๐
กิโลเมตร อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง
ลักษณะผังเมืองเป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมูวางแนวยาวขนานกับลำน้ำปิง
มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ
คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก
ปัจจุบันสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานของอารยธรรมอันรุ่งเรืองในอดีต สะท้อนให้เห็นภาพของอาณาจักรสุโขทัยในความเป็น “รุ่งอรุณแห่งความสุข” เป็นต้นกำเนิดของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ได้พัฒนาเป็นรัฐสำคัญของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๐ เป็นเวลานานประมาณ ๒๐๐ ปี ด้วยความโดดเด่นนี้เองส่งผลให้เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์และได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ ด้วยคุณค่าความโดด
ปัจจุบันสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานของอารยธรรมอันรุ่งเรืองในอดีต สะท้อนให้เห็นภาพของอาณาจักรสุโขทัยในความเป็น “รุ่งอรุณแห่งความสุข” เป็นต้นกำเนิดของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ได้พัฒนาเป็นรัฐสำคัญของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๐ เป็นเวลานานประมาณ ๒๐๐ ปี ด้วยความโดดเด่นนี้เองส่งผลให้เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์และได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ ด้วยคุณค่าความโดด
มรดกโลก
สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ในปัจจุบัน
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร
ในปัจจุบันได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ
มีลักษณะการใช้พื้นที่ทั้งส่วนที่เป็นโบราณสถานที่ได้รับการดูแลโดยกรมศิลปากร
และพื้นที่ข้างเคียงซึ่งที่อยู่อาศัยของชุมชนท้องถิ่น
โดยกำหนดและจัดสรรการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างชัดเจน
รวมทั้งควบคุมสิ่งก่อสร้างและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่
โดยคณะกรรมการพิจารณาการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารและใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตโบราณสถาน
ร่วมกันพิจารณาเพื่อนำเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมศิลปากรผู้อำนาจในการอนุญาต
ปัจจุบันชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์เริ่มขยายตัวพร้อมๆ
กับการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางของเมืองประวัติศาสตร์และเป็นเมืองมรดกโลก เช่น
การสร้างอาคาร สิ่งก่อสร้างต่างๆ ขึ้นภายในเขตเมืองเก่า ตลอดจนบดบังทัศนียภาพ
หรือสภาพภูมิทัศน์ ทำให้ขาดความสง่างามและคุณค่าของโบราณสถาน
รวมทั้งการขาดหน่วยงานที่ต้องดำเนินการ ด้านอนุรักษ์การอย่างพอเพียง
ดังนั้นจึงต้องสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน ให้ตระหนักในคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม
และช่วยกันดูแลรักษาให้เป็นมรดกที่ทรงคุณค่าตกทอดไปสู่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
2 อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก
จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูซิเนีย เมื่อวันที่
๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ เกาะเมือง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรี-อยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ๗๖ กิโลเมตร
ตัวเกาะเมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางของกรุงศรีอยุธยาในอดีต ถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำสำคัญ ๓ สายคือ แม่น้ำลพบุรีด้านทิศเหนือ แม่น้ำป่าสักด้านทิศตะวันออก และแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมอันเป็นพื้นฐานของการตั้งถิ่นฐาน เป็นชุมทางคมนาคมที่เอื้อต่อการค้าทั้งภายในและภายนอก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีความสำคัญของภูมิภาคเอเชียและของโลก ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๓
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ เกาะเมือง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรี-อยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ๗๖ กิโลเมตร
ตัวเกาะเมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางของกรุงศรีอยุธยาในอดีต ถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำสำคัญ ๓ สายคือ แม่น้ำลพบุรีด้านทิศเหนือ แม่น้ำป่าสักด้านทิศตะวันออก และแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมอันเป็นพื้นฐานของการตั้งถิ่นฐาน เป็นชุมทางคมนาคมที่เอื้อต่อการค้าทั้งภายในและภายนอก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีความสำคัญของภูมิภาคเอเชียและของโลก ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๓
อารยธรรมอิสลาม
อารยธรรมอิสลาม เป็น อารยธรรมที่เป็นผลมาจากอิทธิพลของศาสนาอิสลาม อารยธรรมอิสลามมีแหล่งกำเนิดในคาบสมุทรอาระเบีย ต่อมาได้ถูกเผยแผ่ไปยังภูมิภาคอื่นๆของทวีปเอเชีย แอฟริกา และยุโรป ผ่านการค้า การสงคราม และการเผยแผ่ศาสนาอิสลามโดยพวกนักสอนศาสนาที่เดินทางไปยังดินแดนต่างๆ อารยธรรมอิสลามที่สำคัญ เช่น สถาปัตยกรรม จิตรกรรม วิทยาการความรู้แขนงต่างๆ ทั้งคณิตศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ ภูมิศาสตร์อักษรศาสตร์ ปรัชญา เป็นต้น
จุดเด่นของอารยธรรมอิสลามมีดังต่อไปนี้
1. อารยธรรมด้านการศรัทธา คือการศรัทธาต่ออัลลอฮ์ ต่อคัมภีร์ของพระองค์ ต่อศาสนทูตของพระองค์ อารยธรรมอิสลาม เมื่อนำเอาการศรัทธามาเป็นพื้นฐานหลัก แน่นอนย่อมมีเป้าหมายในคุ้มครองดูแลสถานภาพของตัวเอง ด้วยกำแพงแห่งความเที่ยงธรรมในด้านจิตวิญญาณ โดยเฉพาจรรยาบรรณอันทรงเกียรตินั้นถือได้ว่าเป็นสารัฐถะหรือแก่แท้ของศาสนาที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า เพราะจะไม่มีผลดีใด ๆ ในวิทยาการที่ไร้ซึ่งจรรยา ซึ่งทุกศาสนาที่มาจากอัลลอฮ์นั้น ย่อมมีความสอดคล้องกันในการใช้ให้ปฏิบัติคุณงามความดี หลีกหนีจากกระทำความชั่ว การศรัทธาในอิสลามนั้น ไม่ได้ขัดกับสติปัญญา เพราะอิสลามได้ดำเนินอยู่บนพื้นฐานของการใช้สติปัญญาในเรื่องศรัทธาไปจนกระทั่งการ ศรัทธานั้นเด็ดเดี่ยวมั่นคง ถึงแม้ว่าอารยธรรมอิสลามจะเน้นเรื่องการศรัทธา แต่มันมิได้ยกเลิก หรือละเลย ในเรื่องของวัตถุ แถมยังให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่เนื่องจากมันเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเจริญ
2. อารยธรรมด้านความเจริญก้าวหน้า ไม่มีการชะงักงันและไม่ล้าหลัง อิสลามได้ให้กำเนิดอารยธรรมนี้ขึ้นมา และได้เจริญเติบโตขึ้น ด้วยการต่อต้านสิ่งอธรรม การเอารัดเอาเปรียบ การชะงักงัน ความล้าหลัง อิสลามมิได้ห้ามมุสลิมนำเอาสิ่งใหม่ ๆ หากสิ่งนั้นไม่ขัดต่อศาสนา รูปแบบ จริยธรรมของอิสลาม คำกล่าวอ้างของผู้ที่ต้องการทำลายอิสลามที่กล่าวว่าการศรัทธานั้นขัดต่อเป้าหมายความยุติธรรมของสังคม คำอ้างดังกล่าวนั้นมันไม่เป็นความจริง แท้จริงรูปแบบความยุติธรรมของสังคมจะไม่สมบูรณ์ นอกจากจะอยู่ภายใต้ร่มเงาของการศรัทธาเท่านั้น อันศาสนาที่มาจากพระผู้เป็นเจ้านั้น ทุกศาสนาเรียกร้องไปสู่การเห็นอกเห็นใจกัน คนมั่งมีจะต้องจุนเจือคนขัดสนหรือ คนยากจนอนาถา ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงบัญญัติการจ่ายซากาตเหนือมุสลิมที่มีความสามารถ
3. อารยธรรมที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นและเปิดกว้าง กล่าวคืออารยธรรมอิสลามมิได้ปิดตัวเอง ทว่าเป็นอารยธรรมที่ยืดหยุ่น มีทั้งการให้และการรับ อารยธรรมอิสลามได้ให้เกียรติต่อมรดกของกลุ่มกราบไหว้รูปปั้น ในวิชาและศิลปะแขนงต่างๆ และไม่ได้ยึดติดอยู่กับมรดกเหล่านั้นเพียงแต่วัตถุเหมือนกับการกระทำของบาทหลวงของคริสในช่วงแรกของสมัยกลาง อารยธรรมอิสลามเล็งเห็นถึงผลประโยชน์ที่มีอยู่ในมรดกของอารยธรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อารยธรรมของกรีก เปอร์เซีย อินเดียและอารยธรรมอื่น ๆ ในขณะเดียวกันอารยธรรมอิสลามมีจุดยืนที่ประนีประนอมต่อ อารยธรรมของยิว และคริสเตียน
4. อารยธรรมที่รักสันติ ภายใต้ร่มเงาของสันติภาพนั้น เกิดการก่อสร้าง การประดิษฐ์ และการบูรณะ และภายใต้สันติภาพเช่นกัน มนุษย์รู้สึกถึงความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และครอบครัว ซึ่งเป็นผลที่นำไปสู่การงาน การผลิตอย่างมั่นคง อิสลามจะทักทายกันด้วยสันติภาพ แท้จริงนักวิจัยได้ความเห็นที่สอดคล้องกันว่า ประเทศและภูมิภาคใดก็ตามได้ปกครองโดยอิสลาม และได้เติบโตภายใต้อารยธรรมอิสลาม ชีวิตของราษฎรในประเทศหรือภูมิภาคเหล่านั้น จะอยู่อย่างเรียบง่าย ปลอดภัย อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของพวกเขา กระทั่ง นักบูรพาคดีบางคนได้ให้ความสมญานามว่า สันติภาพคืออิสลาม ถึงแม้ว่าอิสลามจะมีความยึดมั่นกับวิญญาณแห่งสันติภาพ แต่ก็มิได้ขัดต่อการรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของมุสลีมีน
หลักธรรมที่สำคัญของศาสนาอิสลาม
อารยธรรมอิสลาม เป็น อารยธรรมที่เป็นผลมาจากอิทธิพลของศาสนาอิสลาม อารยธรรมอิสลามมีแหล่งกำเนิดในคาบสมุทรอาระเบีย ต่อมาได้ถูกเผยแผ่ไปยังภูมิภาคอื่นๆของทวีปเอเชีย แอฟริกา และยุโรป ผ่านการค้า การสงคราม และการเผยแผ่ศาสนาอิสลามโดยพวกนักสอนศาสนาที่เดินทางไปยังดินแดนต่างๆ อารยธรรมอิสลามที่สำคัญ เช่น สถาปัตยกรรม จิตรกรรม วิทยาการความรู้แขนงต่างๆ ทั้งคณิตศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ ภูมิศาสตร์อักษรศาสตร์ ปรัชญา เป็นต้น
จุดเด่นของอารยธรรมอิสลามมีดังต่อไปนี้
1. อารยธรรมด้านการศรัทธา คือการศรัทธาต่ออัลลอฮ์ ต่อคัมภีร์ของพระองค์ ต่อศาสนทูตของพระองค์ อารยธรรมอิสลาม เมื่อนำเอาการศรัทธามาเป็นพื้นฐานหลัก แน่นอนย่อมมีเป้าหมายในคุ้มครองดูแลสถานภาพของตัวเอง ด้วยกำแพงแห่งความเที่ยงธรรมในด้านจิตวิญญาณ โดยเฉพาจรรยาบรรณอันทรงเกียรตินั้นถือได้ว่าเป็นสารัฐถะหรือแก่แท้ของศาสนาที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า เพราะจะไม่มีผลดีใด ๆ ในวิทยาการที่ไร้ซึ่งจรรยา ซึ่งทุกศาสนาที่มาจากอัลลอฮ์นั้น ย่อมมีความสอดคล้องกันในการใช้ให้ปฏิบัติคุณงามความดี หลีกหนีจากกระทำความชั่ว การศรัทธาในอิสลามนั้น ไม่ได้ขัดกับสติปัญญา เพราะอิสลามได้ดำเนินอยู่บนพื้นฐานของการใช้สติปัญญาในเรื่องศรัทธาไปจนกระทั่งการ ศรัทธานั้นเด็ดเดี่ยวมั่นคง ถึงแม้ว่าอารยธรรมอิสลามจะเน้นเรื่องการศรัทธา แต่มันมิได้ยกเลิก หรือละเลย ในเรื่องของวัตถุ แถมยังให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่เนื่องจากมันเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเจริญ
2. อารยธรรมด้านความเจริญก้าวหน้า ไม่มีการชะงักงันและไม่ล้าหลัง อิสลามได้ให้กำเนิดอารยธรรมนี้ขึ้นมา และได้เจริญเติบโตขึ้น ด้วยการต่อต้านสิ่งอธรรม การเอารัดเอาเปรียบ การชะงักงัน ความล้าหลัง อิสลามมิได้ห้ามมุสลิมนำเอาสิ่งใหม่ ๆ หากสิ่งนั้นไม่ขัดต่อศาสนา รูปแบบ จริยธรรมของอิสลาม คำกล่าวอ้างของผู้ที่ต้องการทำลายอิสลามที่กล่าวว่าการศรัทธานั้นขัดต่อเป้าหมายความยุติธรรมของสังคม คำอ้างดังกล่าวนั้นมันไม่เป็นความจริง แท้จริงรูปแบบความยุติธรรมของสังคมจะไม่สมบูรณ์ นอกจากจะอยู่ภายใต้ร่มเงาของการศรัทธาเท่านั้น อันศาสนาที่มาจากพระผู้เป็นเจ้านั้น ทุกศาสนาเรียกร้องไปสู่การเห็นอกเห็นใจกัน คนมั่งมีจะต้องจุนเจือคนขัดสนหรือ คนยากจนอนาถา ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงบัญญัติการจ่ายซากาตเหนือมุสลิมที่มีความสามารถ
3. อารยธรรมที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นและเปิดกว้าง กล่าวคืออารยธรรมอิสลามมิได้ปิดตัวเอง ทว่าเป็นอารยธรรมที่ยืดหยุ่น มีทั้งการให้และการรับ อารยธรรมอิสลามได้ให้เกียรติต่อมรดกของกลุ่มกราบไหว้รูปปั้น ในวิชาและศิลปะแขนงต่างๆ และไม่ได้ยึดติดอยู่กับมรดกเหล่านั้นเพียงแต่วัตถุเหมือนกับการกระทำของบาทหลวงของคริสในช่วงแรกของสมัยกลาง อารยธรรมอิสลามเล็งเห็นถึงผลประโยชน์ที่มีอยู่ในมรดกของอารยธรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อารยธรรมของกรีก เปอร์เซีย อินเดียและอารยธรรมอื่น ๆ ในขณะเดียวกันอารยธรรมอิสลามมีจุดยืนที่ประนีประนอมต่อ อารยธรรมของยิว และคริสเตียน
4. อารยธรรมที่รักสันติ ภายใต้ร่มเงาของสันติภาพนั้น เกิดการก่อสร้าง การประดิษฐ์ และการบูรณะ และภายใต้สันติภาพเช่นกัน มนุษย์รู้สึกถึงความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และครอบครัว ซึ่งเป็นผลที่นำไปสู่การงาน การผลิตอย่างมั่นคง อิสลามจะทักทายกันด้วยสันติภาพ แท้จริงนักวิจัยได้ความเห็นที่สอดคล้องกันว่า ประเทศและภูมิภาคใดก็ตามได้ปกครองโดยอิสลาม และได้เติบโตภายใต้อารยธรรมอิสลาม ชีวิตของราษฎรในประเทศหรือภูมิภาคเหล่านั้น จะอยู่อย่างเรียบง่าย ปลอดภัย อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของพวกเขา กระทั่ง นักบูรพาคดีบางคนได้ให้ความสมญานามว่า สันติภาพคืออิสลาม ถึงแม้ว่าอิสลามจะมีความยึดมั่นกับวิญญาณแห่งสันติภาพ แต่ก็มิได้ขัดต่อการรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของมุสลีมีน
หลักธรรมที่สำคัญของศาสนาอิสลาม
1. หลักศรัทธา 6 ประการ คำว่าศรัทธาสำหรับชาวมุสลิม หมายถึง ความเชื่อมั่นด้วยจิตใจโดยปราศจากการระแวงสงสัยหรือการโต้แย้งใดๆ หลักศรัทธาในศาสนาอิสลามมี 6 ประการ คือ
1) ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า ชาวมุสลิมต้องศรัทธาต่อพระอัลลอฮ์แต่เพียงพระองค์เดียว
2) ศรัทธาในบรรดามลาอีกะฮฺ ว่ามีจริง คำว่า “มลาอีกะฮฺ” หมายถึง ทูตสวรรค์หรือเทวทูตของพระเจ้า เป็นคนกลางระหว่างพระเจ้ากับศาสดา เป็นวิญญาณที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้และมีจำนวนนับไม่ถ้วน
3) ศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอาน
4) ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต ในคัมภีร์อัลกุรอานกล่าวถึงศาสนทูตว่ามีทั้งหมด 25 ท่าน ท่านแรก คือ นบีอาดัม และท่านสุดท้ายคือ นบีมุฮัมมัด
5) ศรัทธาในวันพิพากษา มุสลิมต้องเชื่อว่าโลกนี้ไม่จีรัง ต้องมีวันแตกสลายหรือมีวันสิ้นโลก
6) ศรัทธาในกฎสภาวะ (ลิขิต) ของพระเจ้า ชาวมุสลิมเชื่อว่าพระเจ้าได้ทรงกำหนดกฎอันแน่นอนไว้ 2 ประเภท คือ กฎที่ตายตัว เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทุกสิ่งเป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้า เช่น การถือกำเนิดชาติพันธุ์ รูปร่างหน้าตา ฯลฯ และกฎที่ไม่ตายตัว เป็นกฎที่ดำเนินไปตามเหตุผล เช่นทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ซึ่งพระเจ้าได้ประทานแนวทางชีวิตที่ดีงามพร้อมกับสติปัญญาของมนุษย์ ดังนั้นมุสลิมทุกคนต้องพยายามทำให้ดีที่สุด
2. หลักปฏิบัติ 5 ประการ หลักปฏิบัติ คือ พิธีกรรมเพื่อให้เข้าสู่ความเป็นมุสลิมโดยสมบูรณ์ ซึ่งชาวมุสลิมต้องปฏิบัติศาสนกิจพร้อมทั้ง 3 ทาง คือ กาย วาจา และใจ อันถือเป็นความภักดีตลอดชีวิต หลักปฏิบัติ 5 ประการ มีดังนี้
1) การปฏิญาณตน ชาวมุสลิมทุกคนต้องปฏิญาณตนยอมรับความเป็นพระเจ้าองค์เดียวของพระอัลลอฮ์และยอมรับในความเป็นศาสนทูตของท่านนบีมุฮัมมัด
2) การละหมาด การทำละหมาด หมายถึงการนมัสการพระเจ้าทั้งร่างกายและจิตใจวันละ 5 ครั้ง ได้แก่ เวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เวลากลางวัน เวลาบ่าย เวลาพลบค่ำ และเวลากลางคืน การทำละหมาดเริ่มเมื่ออายุได้ 7 ขวบ จนถึงขั้นสิ้นชีวิต ยกเว้นหญิงขณะมีรอบเดือน
3) การถือศีลอด คือการละเว้น ยับยั้งและควบคุมตน โดยงดการบริโภคอาหาร น้ำดื่ม และร่วมประเวณี ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกดินเป็นเวลา 1 เดือน ในเดือนรอมฎอน (เดือน 9 ทางจันทรคติของอิสลาม) การถือศีลอดเป็นหน้าที่ของชาวมุสลิมทุกคนที่อายุครบ 15 ปี เป็นต้นไป แต่ผ่อนผันในกรณีหญิงขณะมีรอบเดือนและหลังคลอด บุคคลในระหว่างเดินทาง หญิงมีครรภ์ แม่ลูกอ่อน บุคคลที่มีสุขภาพไม่ปกติ มีโรคภัย คนชรา และบุคคลที่ทำงานหนัก
4) การบริจาคซะกาต หมายถึง การบริจาคทรัพย์เพื่อขัดเกลาจิตใจของผู้บริจาคให้สะอาดบริสุทธิ์ลดความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ให้มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
5) การประกอบพิธีฮัจญ์ หมายถึง การเดินทางไปประกอบศาสนกิจหรือจาริกแสวงบุญ ณ วิหารอัลกะฮ์ และสถานที่ต่างๆ ในนครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยให้ปฏิบัติเฉพาะบุคคลที่มีความสามารถเท่านั้น
Subscribe to:
Posts (Atom)
ศิลปวัฒนธรรมของจีน ศิลปวัฒนธรรมของจีน จิตรกรรม มีวิวัฒนาการมาจากการเขียนตัวอ...

-
อารยธรรมจีน ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่งโดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรร5000ปีรากฐ...
-
อารยธรรมอินเดีย ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐาน ปัจจัยที่ทำให้เกิดอารยธรรมอินเดีย อารยธรรมอินเดียกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มน้ำสินธุ ...